วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Alfa Romeo “Pandion”, the glorious return of Studio Bertone





อัลฟ่าโรมิโอ “แพนดิออน” การกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของสำนักแบร์โตเน่

หลังจากที่ห่างหายออกไปเวทีนานาชาติกว่า 2 ปี ในปีนี้สำนักออกแบบแบร์โตเน่ สำนักออกแบบที่มีประวัติอันยาวนานกว่าร้อยปีจากอิตาลี ได้กลับมาเยือนเจนีวา มอเตอร์โชว์อีกครั้งหนึ่งกับผลงานรถต้นแบบ อัลฟ่าโรมิโอ “แพนดิออน” ที่งดงามและดุดันเพื่ออุทิศให้เป็นของขวัญในวาระครบรอบ 100 ปี ให้กับ อัลฟ่า โรมิโอ
แพนดิออน เป็นผลงานชิ้นปฐมฤกษ์ของ ไมค์ โรบินสัน ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบและแบรนด์คนใหม่ของสำนักแบร์โตเน่ โรบินสันมุ่งมั่นให้ แพนดิออน เป็นรถในฝันพันธ์แท้ ที่จะเป็นตัวแทนของงานออกแบบแห่งอนาคต และเหตุที่เขาเลือกที่จะทำรถให้กับค่ายอัลฟ่า โรมิโอนั้นก็เพราะความสัมพันธ์อันยาวนานของอัลฟ่า โรมิโอ กับแบร์โตเน่ที่เป็นเหมือนคนในครอบครัวเดียวกันมานับศตวรรษนั่นเอง
ชื่อ แพนดิออน นั้นมาจากชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเหยี่ยวทะเลนักล่า “ แพนดิออน ฮาลิเอทุส” โดยโรบินสันนั้นได้นำรูปแบบของปีกของมันมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับการออกแบบกลไกการเปิดประตูให้กับ แพนดิออน รวมไปถึงการนำเอาใบหน้าและจงอยปากของเหยี่ยวมาเป็นผสมผสานเข้ากับเอกลักษณ์ดั่งเดิมของอัลฟ่า โรมิโอก่อเกิดเป็นโฉมหน้าแห่งอนาคตให้กับอัลฟ่า โรมิโอ
After a two year absence from the international scene, Bertone returns to the Geneva Motor Show, unveiling a concept car that makes its world premiere here: the Pandion, an aggressive yet beautiful coup้ designed as a tribute to Alfa Romeos’ one hundred year anniversary.
The Pandion is the first car produced by Mike Robinson in his new role as Design and Brand Director at Bertone. A pure ‘dream car’, the Pandion takes its rightful place as a member of Bertone’s historic Alfa Romeo family: cars that have always been style icons, influencing the history of the automobile and Italian craftsmanship in their excellent design quality, proving themselves to be undisputed benchmarks for the entire world of car design.
The name comes from the animal world, as Pandion Haliaetus is the scientific name for an Osprey: a sea hawk that nests and lives in coastal areas. The designers, led by Mike Robinson, have drawn inspiration from the wings of this predator to invent the spectacular door opening mechanisms, and from the hawks’ facial markings to project the traditional Alfa family feeling into the next era of design.
แนวคิดเริ่มต้น
รูปทรงที่ทะมัดทะแมงของแพนดิออนเป็นผลมาจากการวิเคราะห์บุคลิกภาพของ “ตรา” ของอัลฟ่า โรมิโอเป็นอันดับแรก อันประกอบไปด้วยภาพ “งูใหญ่กินคน” (อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้มาจากตราประจำตระกูลสฟอร์ซ่า “Sforza” เจ้าผู้ครองปกครองเมืองมิลานในอดีต) นั้นตีความได้เป็นภาพแห่งความสง่างาม (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “สกิน” หรือผิว) และ ส่วนของกางเขนแดงบนพื้นขาว (ตราประจำเมืองมิลาน) นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสติปัญญาและเหตุผล อันเป็นส่วนของเทคโนโลยี (ที่จะเรียกว่า “เฟรม” หรือโครง) ซึ่งทั้งสองส่วนนี้เป็นเป็นสมดุลแห่งความต่างของสองขั้วระหว่าง เทคโนโลยี และความรู้สึก, เหตุผลกับสัญชาติญาณ, สถาปัตยกรรมกับประติมากรรม, โครงสร้างสัณฐานและอสัณฐานอินทรีย์, ความเป็นเลิศทางอุตสาหกรรมกับหัตถกรรมชั้นครู
จากการตีความนี้ พลังและชีวิตในอัลฟ่า โรมิโอทุกๆคันได้แสดงออกผ่าน กระดูกสันหลัง หรือ “โครง” ของ แพนดิออน ที่เริ่มตั้งแต่โครงกระจังหน้าทรง V ของกันชนหน้า ตัดพาดส่วนห้องโดยสารจรดโครงทรง V ของกันชนหลัง โดยทำหน้าที่รองรับส่วนของเปลือกตัวถังหรือ “ผิว” นั่นเอง
- Design: the initial concept
The Pandion’s taut and muscular body is the result of an original interpretation of the Alfa Romeo badge, where the man-eating snake depicted there represents the attraction of elegance (what we call the ‘Skin’), and the aristocratic cross symbolizes the rigor of rational thought, the technological aspect (what we call the ‘Frame’). According to this interpretation, the Pandion’s design is, like every Alfa Romeo, a perfect synthesis between ‘Skin and Frame’, an ideal balance resulting from a tension between opposites: technology and sensuality, rationality and instinct, architecture and sculpture, structuralism and organicism, industrial excellence and excellent craftsmanship.
According to this interpretation, the vibrant energy in every Alfa Romeo is represented by Pandions’ spinal structure (or ‘Frame’), which crosses the length of the car from the V-shaped grille in the nose of the car to the V-shaped bumper in the tail of the car, crossing the interior as a visually aesthetic structural element which supports the surrounding shell (or ‘Skin’).
โดดเด่นด้วยรายละเอียด
รูปโฉมของ แพนดิออน นั้นโดดเด่นด้วยรายละเอียดที่ดูเพียงปราดเดียวก็มั่นใจได้ว่านี่คือ อัลฟ่า โรมิโอ แม้ว่าจะไม่ได้มีรายละเอียดที่ได้มาจากรถรุ่นก่อนๆเลยก็ตาม เริ่มจาก กระจังหน้าที่มีช่องเปิดรูปตัว T ที่ดูราวกับหมวกเหล็กของนักรบกลาดิเอเตอร์ นั้นเป็นการออกแบบที่สดใหม่แต่ก็ดูแล้วเป็น อัลฟ่า โรมิโอ อย่างชัดเจน โดยปลายปีกทั้งสองข้างของรูปตัว T นั้นเป็นตำแหน่งของไฟหน้าคู่ที่ซ่อนลึกเข้าไปตามสไตล์ของอัลฟ่า โรมิโอ ปลายปีกที่ลากยาวจรดมุมของรถนั้นยังทำให้รถดูกว้างและดุดันในสไตล์สปอร์ต ส่วนขาของตัว T นั้นเป็นพื้นที่ของกระจังหน้าแบบ 5 ก้านแนวนอน อันเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของอัลฟ่า โรมิโอ แต่ลึกเข้าไปเป็นครีบจิ๋วนับพันที่ตระหวัดเกี่ยวเกาะกันอันเป็นแนวคิดการออกแบบใหม่ของรถคันนี้
ภาพด้านของแพนดิออนนั้นเป็นทรงสปอร์ตพันธ์แท้ ในรูปแบบของหน้ายาวท้ายสั้นโดยห้องโดยสารเยื้องไปทางด้านหลัง รูปทรงด้านข้างนั้นโดดเด่นด้วยประตูแบบกรรไกรที่ลากยาวจากท้ายจรดหัวพร้อมด้วยหน้าต่างกระจกที่เชื่อมยาวจากซุ้มล้อหน้าจรดล้อหลัง การออกแบบประตูในลักษณะนี้ช่วยให้การเข้าและออกรถสปอร์ตที่เตี้ยกว่ารถทั่วไปทำได้สะดวกกว่าประตูแบบทั่วไปมาก และภาพของกระจกข้างทรงใหม่นี้ยังช่วยเพิ่มทัศนวิสัยให้กับห้องโดยสารซึ่งแต่เดิมมักจะอุดอู้เนื่องจากแนวหลังคาที่เตี้ย แถบสีดำที่ลากตัดขึ้นไปสู่ด้านท้ายของรถนั้นนอกจากจะทำให้ล้อหลังดูมีพลังในแบบรถสปอร์ตขับหลัง ยังคงส่งเสริมภาพของกลไกการเปิดประตูที่ซ่อนอยู่ด้วย
ด้านท้ายของแพนดิออมนั้นมีความโดดเด่นด้วยการนำเอาครีบทรงผลึกคริสตัลธรรมชาติที่เกาะเกี่ยวกันอย่างซับซ้อนในหลากมิติ นักออกแบบเรียกการออกแบบแนวนี้ว่า “พิกเซลเลต” หรือผลึกเล็กๆที่แตกตัวออกมา ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหางของดาวหาง ที่ซึ่งเมื่อใช้ความเร็วสูงผลึกน้ำแข็งของดาวหางจะระเหิดออกมากลายเป็นหางยาวนั่นเอง ซึ่งกับแฟนดิโอก็คือส่วนของ โครงที่แตกตัวออกมา จากผิว ที่ไหลลื่นต่อเนื่องนั่นเอง ปรากฏการณ์แบบ ดีแมททีเรียลไลเซชั่น (Dematerialization) หรือการลดรูปของวัตถุที่เกิดขึ้นบนรถคันนี้ก่อกำเนิดโดยคุณสมบัติที่เกิดขึ้นจากภาพของการเคลื่อนที่ของรูปทรง ทำให้รถคันนี้ดูราวกับวิ่งอยู่แม้จะจอดนี่งก็ตาม
การออกแบบประตูแบบหวือหวานั้นนับเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของการแบบจากสำนักออกแบบ แบร์โตเน่ ดังจะเห็นได้จากผลงานระดับมาสเตอร์พีซ หลายๆคันของสำนัก อาทิ 1968 อัลฟ่า โรมิโอ คาราโบ, 1970 ลันซิอา สตราตอส, 1972 แลมบอร์กีนี่ คูนทาซ และ 2007 เฟียท บาร์เช็ตต้า และสำหรับแพนดิโอนั้นก็ได้รับการออกแบบให้มีประตูที่โดดเด่นไม่แพ้กัน ด้วยการออกแบบให้เปิดแบบกรรไกรโดยมีจุดหมุนอยู่ด้านหลังและเปิดตั้งได้ 90 องศาตั้งฉากกับล้อหลัง ซึ่งเมื่อเปิดเต็มที่จะสูงถึง 3.6 เมตร จุดมุ่งหมายนี้ก็เพื่อความอลังการและความ “ว้าว” เพราะนี่คือสิ่งที่ขาดหายไปในอุตสาหกรรมรถยนต์ในยุคปัจจุบัน แต่แม้ว่าจะออกแบบเพื่อความว้าว แพนดิออนเองก็ยังคิดถึงเรื่องการใช้งานไว้ด้วยเช่นกัน อาทิในเหตุอุบัติเหตุพลิกคว่ำ การเปิดประตูแบบกรรไกรอาจจะใช้ไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถดันประตูทั้งบานให้แยกออกจากตัวถังในทางนอนได้เช่นกัน
- Design: details that count
The Pandion’s front end features a long and sculpted sloping bonnet that creates what is, to all intents and purposes, a mask, almost like the helmets worn by ancient warriors. The Alfa Romeo ‘family feeling’, immediately recognizable at first glance, does not admit even a hint of retro nostalgia and looks to the future with a revolutionary and novel elegance. There is no doubt it’s an Alfa Romeo with a look that has never been seen heretofore. The typical Alfa quad headlights are buried deep in the outer-most tips of the T-shaped grille, highlighting the wide stance of the impressive coupe. The typical five horizontal bars on every Alfa Romeo radiator grille are just visible here, offering a reference to the marque’s historic identity. The front grille is full of thousands of tiny intertwined blades which contribute to the new Algorithmic Design throughout the car.
The Pandion has the profile of a true sports car, with no room for compromise. The architectural layout is ‘cab rearward’, meaning the passenger compartment is positioned towards the rear of the car and the long bonnet pushes the car’s visual centre rearward. The body side visually connects the sensuous front end with the razor-edged rear by means of an extremely long flowing side window which stretches from front wheel arch to rear, enhancing the excellent accessibility of this low-bodied sports coupe. Since sports cars are traditionally difficult to get in and out of, this important ergonomic activity has been facilitated with an extra wide door opening to make up for the low roofline. The new window graphic also offers an incredible panorama window for passengers inside. The strong diagonal dark-light division in the rear of the side view accentuates the powerful rear wheel drive layout and draws special attention to the hidden door opening mechanism.
The rear end features a striking array of crystal-like blades which are intertwined in various widths and lengths, protruding out into space. The rear of the car in fact has a disembodied or “pixilated” look, representing a tail-of-the-comet metaphor, as if the sheer speed of the vehicle is pulling the underlying, technical “Frame” rearward, away from the sensuous, flowing “Skin” above. This “dematerialization” phenomenon of the car is generated by the intrinsic motion of the form, which means the car looks like it is moving even when it is standing still.

The doors, as in many other Bertone-designed masterpieces (such as the 1968 Alfa Romeo Carabo, the 1970 Lancia Stratos 0, the 1972 Lamborghini Countach, and the 2007 Fiat Barchetta), open in a visually striking manner. Virtually hinged around the axis of the rear wheel, the Pandion doors open by rotating backwards, ending up a perfect 90 degrees above the center of the rear wheel, lifting up the entire body side of the vehicle, from the front fender to the rear fender. When fully open they are more than 3.6 metres high. This spectacular solution is design mainly for glamour, bringing back the “wow” factor to today’s lackluster automotive industry. This futuristic door mechanism also has a pragmatic side as well. Since all ‘extreme’ sports cars are literally impossible to get in and out of, the Pandion is designed to utilize the horizontal space in the car since the vertical space is so limited.
In the event of an accident that results in a ‘roll-over’, the doors detach from the car body so that the passengers can exit of the car.
สืบสานตำนานความยิ่งใหญ่
“เรากำลังเดินตามรอยเท้าของยักษ์” นี่เป็นคำขวัญของ สำนักออกแบบ แบร์โตเน่ และยักษ์ที่ว่านี้ก็คือ ตัวตนและตำนานของผู้บริหารในอดีตคือ จิโอวานนี และ นุคชิโอ แบร์โตเน่ ผู้ผลักดันให้สำนักออกแบบ แบร์โตเน่ ขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกการออกแบบรถยนต์ในยุคที่ผ่านมา การเดินตามรอยเท้าไม่ได้แปลว่าให้ลอกเลียนแบบตำนานทั้งสองแต่หมายถึงการนำเอาคำสอนของทั้งสองท่านไปใช้เป็นแนวทางในอนาคต นักออกแบบของแบร์โตเน่ใช้สิ่งนี้ในการหาไอเดียใหม่ ที่ซึ่งพวกเขาได้สังเกตุปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่แม้ว่าจะดูไม่เกี่ยวข้องกันแต่ก็สามารถนำมาปรับใช้กับโลกของยนตรกรรมได้
แต่อย่างไรก็ตาม การทำการวิจัยอย่างเดียวก็ไม่พอเพียง ที่สำนักออกแบบ แบร์โตเน่ เหล่านักออกแบบทำการศึกษาแนวคิดต่างๆ และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือนวัตกรรมทางความคิด และปรากฏการณ์ใหม่ๆ ไมค์ โรบินสัน ยังกล่าวต่ออีกว่า “รถนั้นจะว่าไปก็คล้ายกับภาพยนตร์, พวกมันต้องสามารถที่จะเล่าเรื่องราวที่สามารถชนะใจผู้ชมได้ นักออกแบบรถยนต์ที่ดีนั้นจะต้องเป็นผู้ที่สามารถจะเล่าเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ของเขาได้อย่างปราดเปรื่อง ไม่ว่ามันจะเป็นรถแนวคิดหรือ รถเพื่อการผลิตจริงก็ตาม ภาพสะท้อนของผู้สร้างสรรค์ที่จะรวบรวมแนวคิดแปลกใหม่จากสาขาความรู้ต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก และหลอมรวมมันเข้าด้วยกันและสร้างสรรค์ออกมาเป็นเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ชิ้นใหม่ นั่นก็คือสิ่งที่เราได้ทำลงไป รถคันนี้ อัลฟ่า โรมิโอ แพนดิออน”
- The Legend Continue
‘We are walking in the footprints of giants.’ That is the Bertone company motto. The giants referred to are Giovanni and Nuccio Bertone. However, following in their footsteps does not mean copying them, on the contrary. It means applying their teachings and using them as guidelines for further advances. We ask our designers to follow a total creative method, where they observe phenomena that are apparently unrelated to each other and try to apply them to the automotive world.
However design research is not enough. At Bertone we study concepts, and therefore each design is the result or a spinoff of an innovative idea or a new phenomenon. Mike Robinson, Design & Brand Director at Bertone, comments: ‘Cars are like films: they must tell a story to win people over. The best car designers are necessarily excellent narrators and their products, whether they are concept cars or mass-produced products, reflect their creators’ ability to gather fascinating ideas from every field, from all over the world, to bring them together and transform them into new and great stories. This is what we have attempted to do with the Alfa Pandion.’

Special thanks to: www.seriouswheels.com

ไม่มีความคิดเห็น: