วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Honda CR-Z ต้นแบบสปอร์ตแห่งอนาคต?










หากพิจารณารูปโฉมโนมพรรณของเจ้าซีอาร์แซดแล้วต้องยอนรับกันไปเลยว่าเป็นรถที่มีรูปลักษณ์แปลกตาคันหนึ่ง แม้ตอนแรกเมื่อมองจากรูปภาพจะรู้สึกว่ารถรุ่นนี้มีสัดส่วนแปลกๆ ดูหัวใหญ่ ท้ายสั้น แต่หากพบกับตัวเป็นๆแบบสามมิติก็จะเปลี่ยนใจและต้องยอมรับว่านี่เป็นรถที่เก๋ไก๋คันหนึ่งทีเดียว ความประทับใจแรกเห็นจะไม่พ้น กระจังหน้าขนาดใหญ่(มาก)ที่ดูแล้วดุดัน โคมไฟหน้าที่ดูเฉียบคม ส่วนโพรไฟล์(Profile) ด้านข้างนั้นจะเห็นว่ารถเตี้ยกว่ารถซับคอมแพ็คทั่วๆไปมากพอสมควร และถูกเน้นด้วยเส้นสายและองค์ประกอบทางการออกแบบต่างๆที่ ช่วยให้เห็นแล้วรู้สึกว่ารถนั้นพุ่งไปด้านหน้าตลอดเวลา ส่วนด้านท้ายนั้นเป็นทรงลาดแบบฟาสต์แบค (Fast Back) ที่ดูลู่ลมในแบบทรงหยดน้ำซึ่ง อันมีพื้นที่กระจกกินลงมาถึงด้านท้ายรถเพื่อช่วยเรื่องทัศนวิสัย (เอกลักษณ์ดั้งเดิมจากคูเป้รุ่นพี่ ฮอนด้า ซีอาร์เอ็กซ์ (Honda CRX)จากยุค 80 และจากรุ่นอินไซท์ (Honda Insight)) และ สามารถเปิดได้ถึงขอบกันชนด้านบน (แต่ขอบกันชนนั้นอยู่สูงมาก ทำให้การขนสัมภาระที่มีน้ำหนักคงต้องออกเหงื่อบ้างนิดหน่อย) ส่วนด้านไฟท้ายทรงสามเหลี่ยมแบบแอลอีดีนั้นก็ดูเฉียบขาด ส่วนด้านล่างของกันชนหลังนั้นมีการออกแบบให้เป็นแผงดิฟฟิวเซ่อร์ซึ่งมาพร้อมกับไฟตัดหมอกหลังซึ่งดูลงตัวทั้งรูปลักษณ์และประสิทธิภาพด้านอากาศพลศาสตร์ ส่วนการเล่นแสงเงาบนตัวถังทำได้ดีดูเป็นสามมิติ ส่งผลให้ซีอาร์แซดเป็นสปอร์ตคอมแพ็คที่สวยงามสะดุดตาคันหนึ่ง ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าซีอาร์แซดไปได้ฉลุย ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในญี่ปุ่นเกินความคาดหมายของฮอนด้าด้วยซ้ำไป
เมื่อมาพิจารณาภายใน พบว่าได้รับอิทธิพลทางการออกแบบมาจากฮอนด้าซ๊วิค และรถในตระกูลเครื่องยนต์ไฮบริดและไฮโดรเจน (Hybrid& Hydrogen powered) รุ่นต่างๆอย่าง อินไซท์(Insight) และเอฟซีเอ็กซ์ (FCX) อย่างชัดเจน แต่ก็มีการพัฒนาด้านการเลือกใช้รูปทรง, ตำแหน่งของปุ่มควบคุมต่างๆ รวมถึงการผสมผสานวัสดุ, และโดดเด่นด้วยการเน้นแสงสีน้ำเงินเข้มในการส่องสว่างภายในผลลัพธ์นั้นน่าสวยงาม ตื่นตาราวกับได้ขับรถยนต์ที่หลงมาจากโลกอนาคตยังไงยังงั้น และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของรถยนต์ไฮบริดจากค่ายฮอนด้าอีกประการก็คือ จอภาพเปลี่ยนสีได้ตามลักษณ์การขับขี่ของผู้ขับซึ่งจะบอกเราว่าเรานั้นขับขี่ได้ “กรีน” (Green) หรือช่วยมลภาวะมากน้อยแค่ไหน โดยหากเราขับขี่แบบดุดันจอภาพจะกลายเป็นสีแดงเข้ม (รถคันที่ทดสอบสามารถไปได้ถึงความเร็วระดับ 190 กิโลต่อชั่วโมง แน่นอนว่าตอนนั้นมาตรความเร็วเป็นสีแดงแปร้ดทีเดียว)และจะค่อยๆกลายเป็นสีน้ำเงินเมื่อผ่อนความเร็วลงและกลายเป็นสีเขียวเมื่อเราสามารถขับขี่ได้นุ่มนวลและประหยัด ช่วยเตือนสติตอกย้ำจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมในหัวใจของผู้ขับขี่ เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมากและรถยนต์อื่นๆน่าที่จะติดตั้งระบบนี้เข้าไปเพื่อของโลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น
ดูเหมือนอะไรๆก็ดูแล้วเป็นภาพลักษณ์ที่ก้าวหน้าและล้ำยุคทั้งนั้น ช่วยก่อให้ความรู้สึกด้านบวกกับชีวิตแห่งอนาคตได้ชัดเจน ยังขาดก็แต่ประสบการณ์การขับขี่ ซึ่งยังไม่ก่อให้เกิดประสบการณ์ด้านบวกมากนัก จนต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าหากสปอร์ตแห่งอนาคตมีรูปแบบการขับขี่เป็นอย่างที่ซีอาร์แซดเป็นจะเป็นอย่างไร ตอบได้อย่างไม่คิดเลยว่า ผมขออยู่กับอดีตต่อไปอีกซักนิดจะดีกว่า......

The return of 928!




การจุติลงมาอีกครั้งของ Porsche 928

ชื่อของปอร์เช่ รหัส 928 อาจไม่คุ้นหูสำหรับนักซิ่งรุ่นใหม่ที่รู้จักแต่ชื่อ บอกสเต้อร์, เคย์แมน, คาเยนน์, พานาเมรา กับ คาร์เรรา แต่สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 20 ปีขึ้นไปน่าจะคุ้นเคยกับ เจ้ากบเครื่องวางหน้าขนาด V8 ที่มีตา(ไฟหน้า)แบบประหลับประเหลือก(ที่บางคนก็ว่าอัปลักษณ์ซะเหลือกำลัง แต่บ้างก็ว่าเก๋ไก๋) รถรุ่น 928 นี้เคยเป็นหนึ่งในรถขายดี ที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมทางวิศวกรรมและการออกแบบใหม่มากมายคันหนึ่งของค่ายปอร์เช่ โดยมีอายุยืนยาวในสายการผลิตถึง 18 ปีนับตั้งแต่ยุค 80 ไปจนถึง ปลายยุค 90 เป้าหมายหลักของรถรุ่นนี้คือการเป็น “รถสปอร์ตสไตล์ผู้ใหญ่แบบ 4 ที่นั่ง” มีความนุ่มนวล แต่ก็หนักแน่น เดินทางกันได้ยาวๆประเภทซิ่งจากดอยสุเทพไปแหลมพรหมเทพ ก็ยังจิ้บๆ (แต่ค่าน้ำมันไม่จิ้บแน่) ซึ่งหลังจากปลดระวางรถรุ่น 928 ไปแล้ว ก็นับได้ว่าปอร์เช่ไม่มีรถในตลาดประเภทอีกเลย ปล่อยให้ รถสปอร์ตหรูแบบ 4 ที่นั่ง ที่เรียกกันว่าแบบ GT หรือ กันตูริสโม อย่าง เบนซ์ ซีแอล (Mercedes CL), บีเอ็มดับเบิ้ลยู ซีรี่ย์ 6 (BMW 6 series), เบนท์ลีย์ จีที (Bentley Continental GT), จากัวร์ เอ็กเคอาร์ (Jaguar XKR) และ แอสตันมาร์ติน ดีบี 9 (Aston Martins DB9)นั้นทำการตลาดกันไปแล้วสบายอารมณ์ โดยปอร์เช่นั้นเหลือสปอร์ตคูเป้แบบ 4 ที่นั่งอยู่เพียงแบบเดียวก็คือรุ่น 911 (บอกตามตรงว่าที่นั่งหลังนั้น คับแคบเสียจนเหมาะกับ เด็ก และแม่ยายใจร้าย เท่านั้น)
การรอคอยนั้นจะหมดไปเมื่อมีข่าวแพร่งพรายออกมาว่า ปอร์เช่มีโครงการจะฟื้นตำนานสปอร์ตหรู 4 ที่นั่ง อีกครั้งโดยอาศัยการดัดแปลงแพลตฟอร์มของซูเปอร์ซาลูนอย่าง “พานาเมรา” (Panamera) มาตัดให้สั้นเข้า ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ สปอร์ต 2 ประตูเครื่องใหญ่แบบ8 สูบ (10สูบนั้นกำลังรอการพัฒนา) เครื่องวางหน้า ที่ใช้เครื่องยนต์กลไกร่วมกับ พานาเมรา ถึงกว่า 60% และแม้ว่าจะตัดฐานล้อให้สั้นเข้าแต่เชื่อว่าที่นั่งด้านหลังก็ยังคงนั่งได้ “ดีกว่า” รุ่น 911 ที่เหมาะเอาไว้แก้แค้นแม่ยายอย่างแน่นอน

เรื่องของเครื่องยนต์นั้นเป็นที่เชื่อได้ว่า เครื่องรุ่นต่างๆของ คาเยนน์ (Cayenne) หรือ พานาเมรา (Panamera) นั้นก็น่าจะได้รับการพิจารณาให้บรรจุลงในห้องเครื่องของ 928 ใหม่ด้วยเช่นกัน และที่แน่ๆก็คือ น่าจะมีการปลุกฟื้นระบบเกียร์แบบ ทรานแอคเซิล (Transaxle) อันเป็นเอกลักษณ์ดั่งเดิมของรุ่น 928 กลับมาใช้อีกครั้ง ระบบนี้เป็นการสร้างสมดุลของการกระจายน้ำหนักโดยนำเอา ห้องเกียร์ทั้งหมดไปอยู่บริเวณเพลาหลังเพื่อให้การกระจายน้ำหนักระหว่างล้อหน้าและล้อหลังเป็นไปอย่างได้สมดุลที่สุด

ด้านรูปโฉมนั้น ที่เราเห็นก็เป็นการคาดเดาของสื่อต่างประเทศว่า 928 น่าจะมีรูปลักษณ์เป็นไปในทางใด ผู้เขียนเองก็มีความเชื่อว่า เนื่องจากปอร์เช่ได้รับบทเรียนเรื่องของรูปลักษณ์ที่ผู้บริโภค “นิยม” มาหลายบทแล้ว คงจะไม่กล้าแหวกแนวไปในทางใด และเนื่องจากให้เครื่องยนต์กลไกร่วมกับ พานาเมรา ถึงเกินกว่า 60% ยิ่งทำให้ ดิ้นได้ยากขึ้นไปอีก เชื่อได้ว่าผลลัพธ์น่าจะไม่ต่างจากภาพซักเท่าใดคือ คงจะเหมือนกับ 911 คันใหญ่ๆที่มีสัดส่วนหน้ายาวท้ายสั้นในสไตล์รถแบบ GT นั่นเอง

เชื่อได้ว่าการกลับเข้ามาสู่สังเวียนรถแบบ GT ของปอร์เช่ในครั้งนี้คงทำให้ค่ายรถอื่นๆหนาวๆร้อนๆกันเป็นแถวๆอย่างแน่นอน

RUF RT12S รถสำหรับแฟนพันธ์แท้เท่านั้น



“Porsche ของพี่คันนี้สวยจัง”... “เอ้อ คันนี้ไม่ใช่ Porsche ธรรมดาครับ มันคือ รูฟ อาร์ที12 เอส (RUF RT12S)”... “แล้วมันต่างกับ Porsche ธรรมดายังไงคะเนี่ย?” นี่ก็คงจะเป็นคำถามที่ผู้ที่เป็นเจ้าของรถคันนี้คงจะต้องได้รับและต้องไขข้อข้องใจให้กับคนรอบข้างอยู่เสมอๆ ว่าที่ไม่ใช่พอร์ช “ธรรมดา” และที่จ่ายแพงกว่าไปนั้น จ่ายไปให้กับอะไรบ้าง? ใช่ครับเพราะหากไม่ใช่แฟนพันธ์แท้ชมรมผู้รัก “กบหลังค่อม” ก็อาจจะแยกไม่ออกว่า นี่ไม่ใช่เจ้ากบหลังค่อมสายพันธ์เยอรมันแบบ “ดาดๆ” ที่เห็นกันทั่วไป และด้วยสมรรถนะที่ดุดัน เกรี้ยวกราด มันไม่เหมาะกับผู้ที่ “เริ่มเล่น” แต่เป็นของเล่นชั้นยอดสำหรับผู้ที่ “มือถึง” แล้วเท่านั้น และเหมาะที่จะเป็นเพชรยอดมงกุฏชั้นเยี่ยมในคอลเล็กชั่นของคอพอร์ชพันธ์แท้มากกว่า

ด้วยหน้าตาชนิดต้องเป็นแฟนพันธ์แท้จึงจะแยกออก และด้วยราคาระดับซุปเปอร์คาร์ ที่เทียบกันแล้วตัวเลือกอื่นๆดูดึงดูดสายตาคนรอบข้างมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์รารี่ 430 หรือ แลมบอร์กีนี่ การ์ญาโด (Ferrari 430 & Lamborghini Gallardo) จากการสังเกตุเวลาขับรูฟไปในที่ต่างๆดูจะไม่ต่อยอยู่ในสายตาชาวบ้านเท่าไรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคันที่เราทำการทดสอบนั้นเป็นสีดำยิ่งทำให้รู้สึกว่า เหมาะกับคนที่ไม่อยากตกเป็นเป้าสายตาเป็นอย่างยิ่ง

ภายนอกนั้นจุดที่แยก รูฟ ออกจากพอร์ชเทอร์โบธรรมดาได้ชัดเจนมีด้วยกัน 3 จุดคือ 1. ช่องดูดอากาศเข้าสู่อินเตอร์คูลเลอร์ที่ใหญ่และอยู่เหนือซุ้มล้อหลังช่วยสร้างแรงกดทางอากาศพลศาสตร์ได้เหนือกว่าแบบมาตรฐาน 2. สปอยเลอร์ท้าย 2 ชั้นแบบของรูฟเอง 3. ล้อแม๊ก 5 ก้านลายเอกลักษณ์ของรูฟ ที่หล่อและเนี้ยบลงตัว ส่วนกันชนหน้าและหลังนั้นแม้ว่าจะดูดีเอามากๆแต่หากไม่ใช่แฟนพันธ์แท้ก็อาจจะดูไม่ออกว่าต่างกับรุ่นธรรมดาตรงไหนได้เหมือนกัน

ภายในนั้นการใส่ในรายละเอียดถือเป็นจุดเด่นหนึ่งที่ทางรูฟทำได้ดี โดยรูฟได้เลือกวัสดุที่บ่งบอกถึงความแรงและความหรูหรามาผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างสง่างามน่าประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นหนังลายคาร์บอนสาน, หนังกลับ (อัลคันทารา), และตกแต่งทริมต่างๆด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์แท้ รวมไปถึงหน้าปัดพร้อมโลโก้ของรูฟเอง ที่ระบุความเร็วไว้ถึง 370 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนด้านที่นั่งคนขับและผู้โดยสารตอนหน้านั้น เป็นบัคเก็ตซีท (Bucket Seat)แบบปรับเอนไม่ได้ในสไตล์รถแข่ง (แต่ก็ไม่เมื่อยล้าแต่ประการใด) ที่ให้ความกระชับ ไม่หวั่นแรงเหวี่ยงขณะเข้าโค้ง และส่งผ่านความรู้สึกของตัวรถมาสู่ผู้ขับขี่ได้อย่าง "เต็มๆ" ได้ว่า พร้อมซิ่ง! ส่วนที่นั่งด้านหลังนั้นจะรันทดเล็กน้อย เพราะนอกจากจะเข้ายากเนื่องจากเบาะหน้าที่พับไม่ได้แล้ว ยังจะต้องเจอกับ “ค้ำตัวถัง” ที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon fiber)ที่ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวถัง ขวางทางเข้าที่นั่งหลัง จนเผลอรู้สึกไปว่า หากมีใครต้องเข้าไปนั่งจริงๆคงจะรู้สึกเหมือนนั่งรถไฟเหาะยังไงยังงั้น เพราะต้องคอยเกาะคานค้ำตัวถังไปด้วยตลอดมิเช่นนั้นอาจต้องถึงวาระเปลี่ยนฟันหน้ายกแผงก่อนกำหนดได้หากคนขับต้องเบรคกระทันหัน ก็ภาวนาว่าอย่าต้องมีใครไปนั่งด้านหลังเลย

สรุปว่าในด้านรูปโฉมและการออกแบบนั้น คนที่ชอบรถ สวย ห้าว (ดุดันสุดๆ) แต่ไม่อยากจะตกเป็นเป้าสายตา คันนี้แหละใช่เลย!

KTM อัศวินสีส้มแห่งโลกจักรยานยนต์




สวัสดีวันอาทิตย์ที่ความสงบกลับคืนมาสู่ผืนแผ่นดินไทยอีกครั้งกับผมคนเดิม อ้วนซ่าแอบซิ่ง เห็นจั่วหัวแบบนี้คอบอลคงจะบอกว่า ฮั่นแน่จะพาไปบอลโลกรึเปล่า อ่ะๆช้าก่อนอย่าพึ่งเข้าใจผิด อ้วนซ่าไม่ได้จะพูดถึงทีมฟุตบอลฮอลแลนด์ แต่อ้วนซ่าหมายความถึง อัศวินสีส้ม ที่ร้อนแรงแห่งโลกจักรยานยนต์ทางฝุ่น KTM Motorcycle แห่งออสเตรียขอรับ

KTM คือใคร? หลายๆท่านถ้าไม่ได้เป็นสิงห์นักบิดที่นิยมทางฝุ่นก็อาจจะไม่คุ้นหู เพราะสิงห์นักบิดชาวไทยดูจะคุ้นเคยกับค่ายญี่ปุ่น หรือถ้าเป็นค่ายของฝรั่งก็ดูจะคุ้นเคยกันอยู่ไม่กี่แบรนด์อย่าง ฮาเล่ย์-เดวิดสัน ไทรอัมพ์ บีเอ็มดับเบิ้ลยู หรือ ดูคาตี้ เท่านั้น แต่เมื่อไม่นานนี้อ้วนซ่าได้เห็น จักรยานยนต์สไตล์โมตาดสีส้ม วิ่งอยู่แถวบ้านก็เลยนึกขึ้นได้ว่า เฮ้ยจริงๆของฝรั่งก็มีอีกแบรนด์ที่เจ๋งจนน่าเอามาพูดถึงเหมือนกันนี่ ซึ่งก็แน่นอนครับว่า เจ้าสีส้มคันนั้นก็คือ KTM นั่นเอง

ทำไมต้องKTM สีส้ม? สีส้ม นั้นเป็นสีเอกลักษณ์ของทีมแข่งของ KTM และก็โดดเด่นเอามากๆ จนเผลอคิดไปว่า KTM มาจากฮอลแลนด์ได้เหมือนกัน สีส้มนั้นเตะตาเสียจนส่วนใหญ่ลูกค้าก็จะเลือกสีส้มเหมือนเป็นสีบังคับ เหมือนซื้อคาวาซากิก็เอาสีเขียว ซื้อดูคาตี้ก็เอาสีแดง ยังไงยังงั้น

จักรยานยนต์ที่ KTM ผลิต(ผลิตเองแทบจะทุกส่วนซะด้วย)นั้นก็ไม่ได้ทำแค่วิบากทางฝุ่นเท่านั้น รถประเภทสิงห์ทางเรียบ หรือกระทั่งรถยนต์สปอร์ตที่โด่งดังอย่างรุ่น KTM X-BOW แกก็ทำ(น่าดีใจว่า ชิ้นส่วนคาร์บอนไฟเบอร์ไฮเทคของมัน ถูกผลิตและส่งออกไปจากเมืองไทยนี่แหละ) แต่จากที่ KTM เป็นบริษัทเล็ก จึงนั้นมุ่งมั่นที่จะสร้างความชำนาญเฉพาะทาง ไม่ได้จับทุกตลาด ดังนั้นจึงเลือกเฉพาะในการการแข่งขันทางฝุ่นที่ไม่ได้ต้องการทุนทรัพย์มหาศาลก็พอจะแข่งขันกับมหาอำนาจสองล้อจากแดนปลาดิบได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะพบว่า KTM เองก็มีรถทางฝุ่นประเภทต่างๆซอยรุ่นออกมาให้เล่นเยอะจนน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชนิด โมโตครอส (Motocross)แบบเบาๆที่จั้มพ์เนินได้มันส์, ครอสคันทรี่ (Cross Country) รุ่นใหญ่ที่ไม่หวั่นทุกสภาพถนน, เอ็นดูโร่ (Enduro) ที่โดดเด่นทั้งทางลื่นและทางเรียบ, ซุปเปอร์โมโต (Supermoto)หรือที่รู้จักกันดีในแบบที่เรียกว่า ซุปเปอร์โมตาด ( Super Motard)รถวิบากที่ใช้ดอกยางแบบ”ถนน” เรียกได้ว่า มีตั้งแต่ไลท์เวท เบาๆ ไปจนถึง เฮฟวี่เวท KTM มีมาพร้อม

และสำหรับท่านที่ชอบรถถนนที่แรงแบบก๋ากั่น KTM ก็มีแบบ “เน็คเก็ต” (Naked Bike) หรือแบบเปลือยๆ หมัดหนักตัวแสบอย่างรุ่น “ดุ้ค” ( KTM Duke) ให้เลือก จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ KTM ก็คือ เครื่องยนต์ชนิดสูบโต! เครื่องของเขามีแค่แบบ 1 และ 2 สูบเท่านั้น แม้แต่เครื่องขนาด 1,200 ซีซีของรุ่นซุปเปอร์ไบค์ ก็ยังเป็นระบบ 2 สูบ ดังนั้นการันตีได้ว่า สไตล์การขับขี่ของค่าย KTM นั้นต้องหมัดหนักดุดัน!ไปด้วยแรงบิด ที่เหลือล้น

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับสิงห์นักบิด “กระเป๋าตุง” รุ่นใหญ่ในบ้านเราอีกแบรนด์นะขอรับ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ www.ktm.com และอย่าลืมนะครับ เปิดไฟใส่หมวก เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและเพื่อนร่วมทางนะขอรับ

เศรษฐียุคประหยัด? หรือของเล่นคนรวย?









ยานยนต์ต้นแบบในเดือนนี้แม้จะไม่ใช่รถต้นแบบแต่ก็เป็นรถยนต์ที่เป็นได้แค่ฝันของพลเมืองโลกส่วนใหญ่ และยังที่มีแนวคิดทางการตลาดแหวกแนวที่สุดคันหนึ่งคือ แอสตัน มาร์ติน ซิกเน็ต (Aston Martin Cygnet) รถยนต์จิ๋วสุดเว่อร์จากค่ายแอสตัน มาร์ติน ผู้ผลิตรถยนต์คู่ใจให้กับสุดยอดจารชนแห่งเมืองผู้ดี เจมส์ บอนด์ 007
ความแหวกแนวนั้นไม่ได้เพราะว่าแบรนด์สปอร์ตสุดหรูอย่างแอสตัน มาร์ติน คิดจะทำรถเล็กเครื่องยนต์ 4 สูบ 1.3 ลิตรเพียงเท่านั้น แต่วิธีการที่กำเนิดมันขึ้นก็แสนจะพิศดารอีกด้วย เพราะภายใต้เปลือกนอกที่เริ่ดและเชิดนั้น ซิกเน็ตก็คือ รถจิ๋วสุดประหยัดชนิด Super ECO Carจากญี่ปุ่น โตโยต้า ไอคิว (Toyota IQ) นั่นเอง! เมื่อแรกเริ่มปรากฏภาพของซิกเน็ตสู่สายตาสาธารณชนในรูปแบบของภาพในขั้นตอนทำต้นแบบดินเหนียว บอกตามตรงว่าผู้เขียนยังคิดว่าเป็นเรื่องโจ๊ก เพราะหน้าตาก้าวร้าวของแอสตัน มาร์ติน กับทรงกะลุ๊กปุ๊กนั้นดูยังไงก็ไม่เข้ากันเอาเสียเลย และเมื่อได้เห็นตัวจริงแล้วยิ่งอึ้งไปกว่าเดิม เพราะมันประหลาดเอามากๆ ด้วยการผสมผสานกระจังหน้าแบบดั่งเดิมของแอสตัน มาร์ติน กับไฟท้ายทรงตัว C ที่เก๋ไก๋ เข้ากับตัวถังของ โตโยต้า ยิ่งมาเจอกับการออกแบบภายในที่ยังคงรูปแบบของ โตโยต้าเอาไว้เหมือนเดิม แต่วัสดุพลาสติคเดิมๆนั้นดูจะไม่เข้ากับแบรนด์เอาเสียเลย ดังนั้นนักออกแบบ(หรือนักการตลาดกันแน่?)ก็เลยขอปรับปรุงวัสดุภายในให้สมฐานะผลลัพธ์ที่ได้สุดจะอลังการงานสร้างและเข้มข้นไปด้วยวัสดุหรูหราราคาแพงในแบบฉบับแอสตัน มาร์ติน ซึ่งว่าตามตรงออกจะหวือหวาไปนิด
แต่เมื่อรู้ความคิดของนักการตลาดของแอสตัน มาร์ตินแล้วก็ถึงบางอ้อว่า จริงๆแล้วเจ้าลูกเป็ดขี้เหร่คันนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ขายให้กับมวลชน หรือขายให้เศรษฐีที่อยากจะได้รถประหยัดรักษ์โลกไว้ใช้งานแต่อย่างใด แต่ถูกกำหนดให้จำหน่ายให้เป็น “ของเล่น”ราคาแพง หรือเป็นแฟชั่นไอเท็ม ( Fashion Items) ที่เพื่อนบ้านต้องอิจฉา (แม้ว่ามันจะหน้าตาประหลาดสุดๆก็ตาม)ให้กับท่านผู้เป็นเจ้าของรถสปอร์ตแอสตันมาร์ตินรุ่นต่างๆไปแล้วเท่านั้น! เรียกได้ว่าถ้าอยากได้ ก็ต้องจ่ายก้อนแรกก้อนใหญ่ซะก่อนนะครับ เขาถึงจะขายคันเล็กให้ หลายคนอาจจะบอกว่า นี่เป็นรถที่ไม่เข้าท่าเอาซะเลย แต่อย่างว่าล่ะครับ “คนรวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด!”

BMW Z4 The sexiest Roadster ever?






BMW Z4 ชื่อเดิมแต่ไม่ได้ ไมเนอร์เชนจ์

นับตั้งแต่มาสด้า เอ็มเอ็กซ์ 5 (Mazda MX-5) ปลุกกระแสความนิยมของโรดสเตอร์เปิดประทุนให้กลับมานิยมกันอีกครั้งในปี 1989 หลังจากที่โลกรถยนต์ขาดรถยนต์ประเภทนี้มานานนับ 2 ทศวรรษ ด้วยกลิ่นอายของโรดสเตอร์อังกฤษที่เรียบง่ายแต่มีสเน่ห์อย่าง เอ็มจี บี (MG-B) แต่ผสานเข้ากับความทนทานแบบญี่ปุ่น ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือโรดสเตอร์ที่ขายดีที่สุดตลอดกาล และทำให้ยี่ห้ออื่นๆเดินตามรอยคที่มาสด้ากรุยทางเอาไว้ และบีเอ็มดับเบิ้ลยูเองก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เดินตามรอยโมเดิร์นคลาสสิคโรดสเตอร์ของมาสด้าด้วยเช่นกัน ด้วยการนำเสนอรถยนต์โรดสเตอร์รุ่น แซด 3 ( BMW Z 3) ในปี 1996 โดยอาศัยสไตล์ของรถโรดสเตอร์แบบอังกฤษด้วยเช่นกันนั่นก็คือ ออสติน ฮีลี่ย์ (Austin Healey) ที่โดดเด่นด้วยกระจังหน้ายาว ท้ายสั้น แนวประตูที่ต่ำ และใหญ่กว่า ดุดันกว่า โรดสเตอร์น้ำหนักเบาอย่าง เอ็มจี โดยบุคลิกของรถแซด 3 ก็คือ เครื่องยนต์แรง ขับสบาย เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติภายนอก แต่ไม่ต้องขับขี่พริ้วมากมายนัก เรียกได้ว่า จุดขายต่างจาก มาสด้า เอ็มเอ็กซ์ 5 แบบคนละเรื่อง
เมื่อถึงเวลาจะต้องปรับโฉม บีเอ็มดับเบิ้ลยู ภายใต้การนำของ มหากูรู คริส แบงเกิล ได้นำเสนอโมเดิร์นโรดสเตอร์พันธ์แท้แบบใหม่ในปี 2002 ด้วยรถยนต์รุ่น แซด 4 ( BMW Z 4) (รหัสเรียกขานคือ E 85) ที่เรียกเสียงฮือฮาด้วยเส้นสายพริ้วลื่นไหลที่เรียกกันว่า เฟลม เซอร์เฟสซิ่ง (Flame Surfacing) หรือเปลวผิวอันพริ้วไหว อันได้แรงบันดาลใจจากรูปสลักหินอ่อนกรีกโบราณที่โดดเด่นด้วยภาพของพื้นผ้าที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อที่ดูราวกับก้อนหินนั้นมีชีวิต และรูปทรงหน้ายาว ท้ายสั้น แบบคลาสสิค บีเอ็มดับเบิ้ลยู แซด 4 ถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของ คริส แบงเกิล คันหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปบีเอ็มดับเบิ้ลยูก็ได้เรียนรู้จุดด้อยต่างๆของ แซด 4 รุ่น เมื่อเทียบกับคู่แข่งในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นหลังคาเปิดได้แบบผ้าใบที่ยังดูสัดส่วนไม่ลงตัวนักเวลาปิดหลังคาซึ่งรถจะสวยกว่ามากตอนเปิดประทุน และคู่แข่งยังหันไปคบกับหลังคาโลหะที่เงียบกว่าและแข็งแรงกว่ากันไปหมดแล้ว ทำให้ต้องมีการปรับยุทธศาสตร์กันใหม่และผลที่ได้ก็คือ “รถยนต์ชื่อเดิม” แต่เปลี่ยนใหม่แบบถอดด้าม อันมีรหัสเรียกขานว่า อี 89 ผลงานชิ้นโบว์แดงของผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบคนใหม่ของบีเอ็มดับเบิ้ลยู มร. เอเดรียน ฟอน ฮุยดอง (Adrian Von Hooydonk) อดีตมือขวาของ คริส แบงเกิล ( Chris Bangle) นั่นเอง
ในแซด 4 รุ่น อี 89 นั้นจุดด้อยต่างๆของรุ่นที่แล้วถูกลบไปสิ้นด้วยหลังคาพับได้แบบโลหะที่สะดวกสบาย และสวยงามลงตัวทั้งตอนเปิดและปิดประทุนกว่ารุ่นที่แล้วมาก ส่วนรูปโฉมใหม่นั้นก็นับได้ว่า เฉียบขาดสุดๆ โดยสัดส่วนยังคงแบบหน้ายาว(เฟื้อยยยย) ท้ายสั้นไว้เช่นเดิม แม้ฐานล้อจะยาวเท่าเดิม แต่ความยาวและความกว้างนั้นมากขึ้น แต่เตี้ยลง ทำให้รูปทรงของรุ่น อี 89 นั้นดุดันแต่เซ็กซี่กว่ารุ่นเดิมอย่างเทียบไม่ติดในทุกรายละเอียด! ส่วนห้องโดยสารนั้นก็เรียบง่ายแต่เฉียบขาดด้วยเส้นสายคมกริบ ดูหรูหราและทันสมัย ด้วยทุกข้อที่ว่ามาทำให้แซด 4 เป็นหนึ่งในรถโรดสเตอร์ที่ดูดีที่สุดในปัจจุบันคันหนึ่งและเหนือกว่าคู่แข่งเพือนร่วมชาติทั้งเบนซ์และพอร์ชอย่างไม่ต้องลุ้น และขึ้นหิ้งเป็นหนึ่งในรถยนต์คลาสสิคที่สุดตลอดกาลอย่างไม่ต้องสงสัย!

The Legend of Turin, Episode 2: Pininfarina, The Immortal Hero











ตำนานแห่งเมืองตูริน บทที่ 2: ปินินฟารีนา ฮีโร่ผู้เป็นอมตะ

ความเดิมจากฉบับที่แล้ว เราได้เปิดตำนานด้วยเรื่องราวของสำนักออกแบบรถยนต์ที่เก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งของโลกคือ แบร์โตเน่ ซึ่งมีอายุเกือบจะครบหนึ่งศตวรรษในเร็ววันนี้ ตำนานบทที่ 2 นี้จะเป็นตำนานของสำนัก ปินินฟารีนา สำนักออกแบบที่เก่าแก่ไม่แพ้แบร์โตเน่ และยังเรียกได้ว่าเป็นสำนักที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งในอิตาลี หรือจะว่าในโลก (ของยานยนต์) ก็ว่าได้

From the previous issue, we have opened up the 1st episode of the legendary car styling house from Turin by introducing the house of Bertone which in a couple of year will celebrate its Centennial anniversary. In this issue we will continue on our journey in the region of the Northern Italy and explore the legend of Pininfarina, the immortal hero of the Italian Car Design.

ตำนานของปินินฟารีนานั้นเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษที่ 30 ภายใต้การนำของ บัททิสตา “ปินิน” ฟารีนา ปัจจุบันลูกหลานของคุณทวด “ปินิน”ได้เปลี่ยนนามสกุล ฟารีนา มาเป็น นามสกุล ปินินฟารีนา กันหมดแล้ว เพราะว่าผลงานที่สร้างไว้ล้วนแล้วแต่สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจจนกระทั่งต้องนำชื่อบริษัทมาตั้งเป็นชื่อสกุล (ในเมืองไทยเอง ก็ได้ยินว่ามีหลายตระกูลเหมือนกันที่นำเอาชื่อกิจการมาเป็นชื่อสกุล อาทิ ตระกูล “หวั่งหลี” อดีตเจ้าสัวใหญ่ด้านการเงินแห่งธนาคารนครธนในอดีตซึ่งนำเอาชื่อของบริษัทค้าข้าวของตนตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์มาเป็นชื่อตระกูล) ผลงานที่โด่งดังส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่มาจากยุคของ อองเดร ปินินฟารีนา ผู้บริหารหนุ่มมือทอง สมองเพชร ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน “25 ดาวเด่นของยุโรป” เขาได้มาทำงานกับบริษัทของครอบครัวตั้งแต่ยุค 80 และได้เป็นซีอีโอของกลุ่ม ปินินฟารีนาตั้งแต่ปี 2001 และได้ต่อสู้จนกระทั่ง ปินินฟารีนา เป็นสำนักออกแบบหนึ่งเดียวที่ยังคงแข็งแกร่งในอิตาลี ขณะที่ตำนานเจ้าอื่นๆต่างริบหรี่ลงไปเรื่อยๆ

The legend of Pininfarina began in the 30’s, founded by Battista “Pinin” Farina. Nowadays the company is still belonging to the Pininfarina’s family. The Farina surname had been changed to Pininfarina as the company flourished and became anonymous with excellence in automotive industry. Today, most of the successful modern Pininfarina design car was from the reign of the brilliant “Andrea Pininfarina”. He was one of the most accomplished CEO in Europe and was awarded as one of the “ 25 Stars of Europe”. He joined his family business since the 80’s and became Pininfarina Group’s CEO in 2001. Under his management, Pininfarina Group has managed to be one of a very rare breed in automotive design business in Italy that survives from the extinction.

แต่ปัจจุบันผู้กุมบังเหียนของ สำนักปินินฟารีนาก็คือ เปาโล ปินินฟารีนา น้องชายของ อองเดร ปินินฟารีนา เพราะอองเดรได้เสียชีวิตลงอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในปี 2008 จากอุบัติเหตุทางจราจรจากการโดนรถยนต์ที่ขับโดยชายชราอายุ 78 ปี ชนขณะเขาขี่สกู้ตเตอร์ในเมืองตูรินนั่นเอง

However after Andrea’s tragic road accident in the year 2008, he and his Vespa were hit by a car which had been driven by a 78 years old man in the small town of Turin, the management is now under the supervision of Paulo Pininfarina, Andres’s brother.

ผู้อุปถัมภ์หลักๆของ สำนักออกแบบที่มีชื่อเสียงในอิตาลี ก็เห็นจะไม่พ้นบริษัทรถยนต์หรูจากยุโรปเจ้าต่างๆ โดยเฟอร์รารี่ดูเหมือนจะเป็นผู้อุปถัมภ์หลักอย่างเป็นทางการของสำนักปินินฟารีนาอย่างชัดเจนเพราะ รถยนต์ของค่ายม้าลำพองแทบจะทุกรุ่นล้วนแล้วแต่เป็นการรังสรรค์ขึ้นของสำนักนี้ทั้งสิ้น (รุ่นที่อุตริไปให้สำนักแบร์โตเน่ ออกแบบให้ก็ดูจะไม่ถูกจริตลูกค้าเอาซะจริงๆ) ส่วนค่ายอื่นๆนั้นก็อาทิ มาเซอร์ราตี โรลสรอยส์ จากัวร์ วอลโว่ เปอร์โยต์ อัลฟาโรมิโอ และลันชิอา นอกจากค่ายยุโรปแล้ว ปินินฟารีนา ยังคงออกแบบและประกอบรถยนต์รุ่นต่างจากทวีปอื่นๆอีกด้วยโดยลูกค้าในแฟ้มของเขามีหลายหลายไม่ว่าจะเป็น คาดิลแลคและ ฟอร์ด จากสหรัฐอเมริกา, ฮอนด้าและ มิตซูบิชิ จากญี่ปุ่น, แดวู และฮุนได จากเกาหลี, ทาทา จากอินเดีย,และ บริลเลี่ยนซ์ และฮาเฟย (ขายในประเทศไทยในชื่อ นาซา) จากประเทศจีน

The list of clients of the famous Italian design house is without doubt coming from luxury car maker brands, and Ferrari seems to be an official patronage as more than 90% from the house of Prancing Horse has been designed by Pininfarina ( some Ferrari had been designed by Bertone but they are considered as a foster child among other Ferraris). The lists of European Clients consist of Maserati, Rolls Royce, Jaguar, Volvo, Peugeot, Alfa Romeo and Lancia, other than that come from both the Atlantic side and from Far East for example, Cadillac& Ford from USA, Honda & Mitsubishi from Japan, Daewoo& Hyundai from Korea, Tata from India and Brilliance& Hafei from China.

โดยชื่อเสียงของปินินฟารีนานั้นส่วนหนึ่งมาจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบเปิดประทุนให้กับรถยนต์หลายต่อหลายรุ่นให้กับบริษัทต่างๆจากทั่วโลก และในปัจจุบันนี้ยังเริ่มที่จะพัฒนาและวิจัยรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าไร้มลภาวะอย่างจริงจัง โดยตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดจากการร่วมทุนกับบริษัทแบตเตอรี่ บอลโลเร่ (Bollore) จากประเทศฝรั่งเศส รถต้นแบบที่นำเสนอแนวคิดด้านการใช้พลังงานไฟฟ้านี้มีด้วยกัน 2 คันคือ รถยนต์รุ่น บีซีโร่ ( B-0) และรถรุ่น นีโด (Nido) ซึ่งได้ทำการทดลองสร้างขึ้นมาเพื่อประเมินในการใช้งานจริงแล้วจำนวนหนึ่ง ปัจจุบัน ปินินฟารีน่ามีพนักงานกว่า 3 พันคน มีโรงประกอบและมีอุโมงค์ลมขนาดใหญ่เป็นของตนเอง และเป็นบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นของอิตาลีอีกด้วย

Other than creating a new concept and design for car, Pininfarina also have other reputation as a specialist in convertible roof mechanism and now Pininfarina is one of the pioneering in exploring the new frontier for clean energy car by joining with Bollore, an expert in Battery technology from France, and the result was a couple of concept cars, the B-Zero and Nedo. The cute yet cleverly design, inspired by egg yolk, “Nedo” has been produced in a handful samples for trial and assessment too. Today, Pininfarina’s empire consists of more than 3,000 employees, full size Wing Tunnel, assembly plants and registered in Italian Stock Market.

นอกเหนือจากรถยนต์ที่เป็นธุรกิจหลักแล้ว ปินินฟารีนา ยังได้ขยายทักษะความสามารถออกไปในอีกหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการออกแบบยานพาหนะชนิดอื่นๆ อาทิ รถไฟ รถราง เรือสำราญ และยังขยายไปถึงการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบผลิตภัณฑ์อีกด้วย ผลงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เด่นๆของ ปินินฟารีนา นั้นดูออกจะแตกต่างจากผลงานเชิงการออกแบบผลิตภัณฑ์จากของสำนักออกแบบผลิตภัณฑ์อื่นๆอยู่พอสมควร เพราะแม้จะไม่กิ้บเก๋ เหมือนงานจากญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส แต่ดูจะโดดเด่นเรื่องมิติและแสงเงาที่งดงามดูเป็นงานประติมากรรมและยังประกอบไปด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมที่งดงาม อันเป็นอิทธิพลจากการออกแบบยานยนต์มาอย่างชัดเจน ผลงานที่โดดเด่นนั้นมีหลากหลายอาทิ คบเพลิงโอลิมปิคฤดูหนาวประจำปี 2006, นาฬิการะบบตูร์บิยอง ของค่าย โบเวต, รองเท้าวิ่งของฟิล่า, จอมอนิเตอร์ของซัมซุง, ตู้น้ำอัดลมโคคาโคล่า, ไม้กอล์ฟของมิซุโน่ (ที่ใช้อุโมงค์ลมของปินินฟารีนา ในการพัฒนารูปทรงให้แหวกอากาศได้อย่างเฉียบขาดอีกด้วย!), บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ของเกอร์แลงค์, เครื่องทำกาแฟของลาวัซซ่า, แว่นตาของเรย์แบนด์, เฟอร์นิเจอร์สำนักงานและที่พักอาศัยรวมถึงสุขภัณฑ์รูปทรงล้ำสมัยเหมือนรถยนต์สปอร์ตอีกหลายต่อหลายยี่ห้อ (เชื่อว่าบริษัทเหล่านั้นคงจะให้บรีฟชนิดหวานคอแร้งว่า “เอาให้เหมือนรถสปอร์ต”,เพราะผลลัพธ์นั้นมันช่างเป็นอิตาเลียน “คาร์”ดีไซน์เอาซะจริงๆ) ไปจนกระทั่ง ออกแบบสนามฟุตบอลให้กับสโมสรฟุตบอลจูเวนตุส (Juventus FC) กันเลยทีเดียว น่าจับตามองว่าสักวันหนึ่งสำนักปินินฟารีน่าอาจจะหันมาทำงานออกแบบอุตสาหกรรมอย่างจริงๆจังๆก็เป็นได้

Apart from Automotive Industry which is Pininfarina’s core business, the company today has expanded its wings into other disciplines of design ranging from Train, Tram, Luxury Yacht, Architecture and Industrial Design. Since the root and route of design are different from conventional Industrial Design and Architect firm from Japan or France, you can tell by experiencing the appearance of Pininfarina’s object of design that it has distinct taste which reflects its origin as an Automotive Design house. Their works consist of a 2006 Winter Olympic Touch (refined in the wind tunnel to withstand even the worst weather), Bovet’s Tourbillion watch, Fila running shoe, Samsung Computer monitor, Coca Cola dispenser, Mizuno Golf club ( again, refined in wind tunnel for higher swing speed), Guerlain perfume bottle, Lavazza Espresso maker, Ray Ban sunglasses…and they even design a new stadium for Juventus FC, the lists are continuingly expand and can imagine that one day Pininfarina’s domain might shift from car to industrial design.

รถเด่นจากยุคต่างๆของปินินฟาริน่า

Pininfarina’s Star cars

รถเด่นยุคแรกๆของปินินฟารีน่านั้นเห็นจะไม่พ้นรถยนต์ อัลฟ่าโรมิโอ รุ่น 8C และ คิซิทาเลีย202 (Cisitalia) จากยุค 40 ตอนปลาย รวมไปถึงจากยุค 50 และ 60 ที่รถยนต์อมตะอย่าง อัลฟ่าโรมิโอ สไปเดอร์ ดูเอ็ทโต (Alfa Romeo Spider Duetto), และเฟอร์รารี่ รุ่น ดีโน่ (Dino)206, 250 GTO และ 275 ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาด้วยสัดส่วนที่เรียบง่าย งดงาม สะโอดสะอง กระทัดรัด ไร้กาลเวลา เสมือนเครื่องดนตรีอย่างไวโอลิน หรือแซกโซโฟนที่ประสานเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับผู้เล่น เพราะทุกรายละเอียดนั้นพอดิบพอดี ไม่มีขาดไม่มีเกิน นับเป็นยุคคลาสสิคของ ปินินฟารีน่าอย่างแท้จริง ความสำเร็จนี้ เป็นรากฐานทางความคิดให้กับปินินฟารีน่าในยุคต่อๆมาอีกหลายทศวรรษ

The 40’s-60’s , The age of Elegance: The most famous car from the early age of Pininfarina during the 40’s is certainly Alfa Romeo 8C and Cisitalia 202 but the car that really made Pininfarina a household name was Alfa Romeo Spider Duetto; the star car from the film “The Graduate” starring Dustin Hoffman, Ferrari Dino 206, Ferrari 250GTO, and Ferrari 275. Those cars had been created to have a compact, simple, elegant yet gorgeous and romantic in shape and form. The design was musical instrument-like, it blended into the rhythm and soul of player, every details were just about right, no more no less and the effect is intimate and addictive yet timeless. This era is considered one of the Pininfarina best work and created a fundamental for their style many decades later.

ยุคทศวรรษที่ 70 ยุคแห่งแนวคิดอนาคต ด้วยแรงบันดาลใจจากการเดินทางในอวกาศจากการที่มนุษย์สามารถไปถึงดวงจันทร์ได้ รถยนต์ต้นแบบจากยุคนั้นต่างก็แสดงออกถึงความท้าทายของการเดินทางในอวกาศ และโลกแห่งอนาคตด้วยรถยนต์ที่รูปร่างแหวกแนว เทรนด์นี้บุกเบิกโดยแบร์โตเน่ ภายใต้การนำของ มาร์แชลโล่ แกนดีนี่ (Marcello Gandini) ได้นำเสนอรถทรงลิ่มสุดล้ำอย่าง ลันชิอา สตราโตส ซีโร่ (Lancia Stratos Zero) ส่วนค่ายปินินฟารีน่าก็ได้ปล่อยหมัดสวนที่ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจคนรักรถมาจนถึงทุกวันนี้ด้วยแนวคิด เฟอร์รารี่ โมดูโล (Ferrari Modulo) ที่ล้ำสมัยด้วยการเปิดเข้าห้องโดยสารในระบบที่คล้ายคลึงกับเครื่องบิน แนวคิดของโมดูโล่นั้นก้าวหน้าเสียจนไม่น่าเชื่อว่าออกแบบมากว่า 40 ปีแล้ว ล้ำเสียจนกระทั่งปินินฟารีน่าต้องจับมาปัดฝุ่นเสียใหม่ พัฒนาขึ้นมาเป็นรถต้นแบบ มาเซอร์ราตี เบิร์ดเคจ 75 (Maserati Bird Cage 75th) ในปี 2005 ที่แม้จะใช้แนวคิดอายุเกือบ 40 ปีก็ยังทำให้ผู้ที่พบเจอรู้สึกทึ่งได้ทุกครั้ง

The 70’s, the Space Adventure: The trend was pioneered by Marcello Gandini from the house of Bertone with the car like Lancia Stratos Zero inspired by the image of space race between USA and USSR where the wedge shape and ultra low stance were the key to its futuristic look. The counter attack from house of Pininfarina was the “Ferrari Modulo” , the answer to the Stratos Zero was as exciting and as avant-garde. With Jet Fighter-like canopy and extremely low stance, the shape is still creating a heart stopping effect imagine seeing one on the road and as 35 years passed by house of Pininfarina reinterpreted the design concept once again with the Maserati Birdcage 75th concept vehicle in 2005, the result is still as fresh as it was first introduce in the 70’s.

ยุคทศวรรษที่ 80 ยุคแห่งเศรษฐีตลาดหุ้นและจุดจบของเรขาคณิต ห้วงเวลาที่เส้นสายเรขาคณิตที่เคยมาแรงในอิตาลีในยุค 70 กำลังจะจางหายไป แต่สำหรับปินินฟารีน่าแล้ว ทักษะทางการออกแบบของพวกเขานั้นอยู่เหนือกระแสแห่งแฟชั่นนิยม เพราะแม้โลกจะเปลี่ยนไปในทางใด เส้นสายอันสง่างาม สะโอดสะองก็ยังคงใช้งานได้เสมอ พวกเขาสามารถนำเสนอความลงตัวของเรขาคณิตที่แม้จะเล่นเหลี่ยมมุมแต่กลับพริ้วเบา ไร้ขอบแข็งกร้าว แต่ท้าทายกาลเวลาได้ อาทิ อัลฟ่าโรมิโอ 164 (Alfa Romeo 164), เปอร์โยท์ 405 (Peugeot 405)
และในเวลาเดียวกันก็ได้นำเสนอนวัตกรรมการออกแบบที่บ้าบิ่น ท้าทายกรอบความคิด ด้วยการออกแบบรถยนต์ที่แหวกแนวที่สุดคันหนึ่งของเฟอร์รารี่ขึ้นมา นั่นก็คือ เฟอร์รารี่ เทสตารอสซ่า (Ferrari Testarossa)จาก 1984 รูปทรงของเทสตารอสซ่านั้นสะท้อนความฟู่ฟ่าของเศรษฐีใหม่ที่ร่ำรวยในข้ามคืน พวกเขาต้องการที่จะให้คนมองเป็นสายตาเดียวกัน อะไรจะดีเท่า ท้ายรถที่กว้างเท่ารถเมล์ รูปทรงลิ่มยาวลาดที่ถูกเน้นให้เด่นขึ้นมาด้วยช่องดูดอากาศที่ประดับด้วยครีบหลายชั้น รูปทรงที่ทุดคนที่ตาไม่บอดต้องมองอย่างเหลียวหลัง! สำหรับแฟนพันธ์แท้ของม้าลำพองแล้วแนวคิดนี้ถือว่าเป็นขบถ อย่างถึงที่สุด เพราะเฟอร์รารี่นั้น แต่ไหนแต่ไรก็ล้วนแล้วแต่มีรูปทรงสะโอดสะอง คลาสสิค เป็นผู้ดีทุกกระเบียดนิ้ว ไฉนปินินฟารีน่าถึงได้สร้างสรรค์อะไรซึ่งโฉ่งฉ่างและอวดดีเช่นนั้นออกมา แม้ว่าจะได้รับวิจารณ์ที่ไม่สู้ดีนัก แต่ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่มี แลมโบกีนี่ คูนทาซ (Lamborghini Countach) เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ก็เห็นจะมีเทสตารอสซ่า เท่านั้นที่สามารถแข่งยอดขายโปสเตอร์ที่แปะไว้เหนือหัวนอนเด็กชายทั้งหลายทั่วโลกกับมันได้ (ผู้เขียนเองก็คนหนึ่งที่มี) เห็นได้ชัดว่าวิสัยทัศน์ของ ปินินฟารีน่านั้นไปไกลจริงๆ

The 80’s, an era of Stock Market Yuppy and the end of geometrical era: The geometric form and wedge design language which had seen their high in fashion during the 70’s had started to faded away during an extravagant 80’s. Some design house, Bertone for example, that initiated the wedge trend struggled hard but unfortunately failed to evolve . On the other hand, the house of Pininfarina had other tricks up their sleeves. As regarded as a master of elegance, even the world’s taste and trend were shifted from geometric to a curvier and organic form, they were able to create a car that still express the vision of simplicity , lightness and classic design out of the obsolete trend, Alfa Romeo 164 and Peugeot 405 are the evidence of their pursuit. Conversely, the 80’s is Pininfarina first path toward a design for a nouvelle rich, Ferrari Testarossa from 1984 was considered one of the most vulgar and loudest design Ferrari to date. With the large fin type air intake on side and super wide butt, everything on this car were created to call attention which is totally contrasted to what Ferrari had been. Testarossa is the first new generation Ferrari, where understatement is not the key. The car critic and hardcore Ferrari fan didn’t like it much but it couldn’t refuse that Testarossa was so adrenaline stimulate and had been a best seller in the type of “Poster” to adorn thousands of young boy all over the world ( only the Lamborghini Countach could match it). Personally I respect its avant-garde design so much and admit that I also had one of the poster when I was young as well.

ยุคทศวรรษที่ 90 และ 2000 ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ยุค 90 นั้นเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับสำนักออกแบบอื่นๆในอิตาลีที่ยังปรับตัวกับการเกิดขึ้นของคู่แข่งจากโรงเรียนออกแบบจากสหรัฐอเมริกาอย่าง อาร์ตเซ็นเตอร์ (Art Center)และ อาร์ซีเอ ( RCA,The Royal College of Art) จากสหราชอาณาจักรไม่ได้ แต่กับปินินฟารีน่านั้นดูเหมือนกับว่าจะไหวตัวได้ทันและ ว่าจ้างนักออกแบบอัจฉริยะชาวญี่ปุ่นผู้นำเอาแนวคิดและ สไตล์ทางการออกแบบใหม่ๆเข้ามาสู่อิตาลี ชื่อของเขาก็คือ เคน โอคุยามะ (Ken Okuyama) ตัวของเคนนั้น เป็นคนญี่ปุ่นโดยกำเนิดแต่ได้มีโอกาสไปร่ำเรียนศาสตร์ทางการออกแบบรถยนต์มาจาก สำนัก อาร์ตเซ็นเตอร์ และได้ฝากฝีมือไว้กับการออกแบบรถสปอร์ต ฮอนด้า NSX อันเลื่องลือ รวมไปถึงการพัฒนารถยนต์ ปอร์เช่รุ่น 996 อีกด้วย หลังจากนั้นเขาได้เข้าไปเป็นอาจารย์สอนการออกแบบให้กับสถาบันอาร์ตเซ็นเตอร์ ก่อนที่จะได้เข้ามาทำงานกับปินินฟารีน่าในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาและปินินฟารีน่าก็คือ เฟอร์รารี่ เอ็นโซ่ (Ferrari Enzo) และมาเซอร์ราตี เบิร์ดเคจ 75 (Maserati Bird Cage 75th)รวมไปถึง เฟอร์รารี่ พี4/5 (Ferrari P4/5) อิทธิพลทางการออกแบบของเขาคือการนำเอาค่านิยมและความท้าทายจากญี่ปุ่นและอเมริกามาผสมผสานเข้ากับรสนิยมอันละเมียดมะไมของชาวอิตาลีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นทำให้งานออกแบบของ ปินินฟารีน่านั้นดูมีความร่วมสมัยแตกต่างจากสำนักอื่นๆอย่างเห็นได้ชัดเจน

The 90’s and 2000, the age of change: The 90’s, Italian design had seen the lowest and lose their client to the strong competition from the new schools of design, to name the RCA and The Art Center. Unquestionable, the magic of Italian design had lost it mantra and people were enjoying a fresher style from the UK and USA. However the house of Pininfarina quickly adapted to the change and employed a prodigy Japanese designer into the team, his name is Ken Okuyama. Ken is a Japanese born but trained as a car designer from The Art Center College in the USA. His early portfolio included the styling of Honda NSX, one of the best Japanese car of all time, and also being a part in revitalized program for Porsche 911 which became the 996. At the time Pininfarina invited him to join the company, he also taught at his college, The Art Center. Employing a foreigner, let alone a Japanese, to be a head of design in an Italian company was not a common practice but Pininfarina has a strong confident in him. With Pininfarina’s vision and his fresh idea, his position as a Design Director was phenomenon! He created a number of legendary cars include the Ferrari Enzo, Maserati Birdcage 75th, and Ferrari P4/5. Ken brought with him a Japanese sense of futuristic dream, an American sense of exploration to blend with Italian sense of art, these created a recipe that not only unique, contemporary but also eternal.

ในยุคนี้ยังเป็นยุคที่ปินินฟารีน่า ขยายตัวเองออกไปสู่มุมโลกที่ไกลออกไป อย่างประเทศจีนและอินเดีย ปัจจุบันปินินฟารีน่ามีสำนักงานในประเทศจีนและพร้อมที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกิดใหม่ของจีนอย่างเต็มกำลัง ด้วยความพร้อมด้านเทคโนโลยีสะอาดอย่างแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าแบบโซลิตสเตท ลิเธียมโพลิเมอร์ และ ซุปเปอร์คาปาซิเตอร์ (solid-state lithium-polymer battery & supercapacitors) เห็นได้ชัดเจนว่า แม้ว่าโลกจะหมุนไปเช่นไรผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และไม่ปิดกั้นความคิดใหม่ๆย่อมจะพบทางรอดในกระแสเชี่ยวกรากแห่งความเปลี่ยนแปลงเสมอ

The present time, the age of diversification: This is a new era that Italian design is expanding to the new frontier as India and China are their new patronage. With their new wisdom in the clean technology like Solid State Lithium Polymer Battery and Super Capacitors, the new opportunities are opening up and wait for anyone who run faster and go with courage. Pininfarina is one of a good example of a company with a vision, a company who always ready for a change. It is not too overstate for me to call the Pininfarina, The Immortal Hero.

The Legend of Turin, episode 1: Bertone, Master of Geometric form












ตำนานแห่งเมืองตูริน, บทที่ 1 แบร์โตเน่ เจ้าแห่งเรขาคณิต


หากจะกล่าวถึงโลกของวงการการออกแบบรถยนต์ในยุคปัจจุบัน เราต่างก็ยอมรับกันดีว่า สถาบันที่มีบทบาทอย่างมากต่อการออกแบบรถยนต์ในยุคนี้ก็คือ สถาบันการออกแบบ อาร์ต เซ็นเตอร์ แห่งเมือง พาซาดีนา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (Art Center College of Design, Pasedena) และสถาบัน รอแยลคอลเลจ ออฟ อาร์ต แห่งกรุงลอนดอน (Royal College of Art, London) แต่ว่าหากย้อนอดีตกลับไปก่อนยุค 80 ก่อนที่สถาบันทั้งสองจะผงาดขึ้นมานั้น หากพูดถึงเรื่องของการออกแบบนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่ากรุงเมกกะแห่งโลกการออกแบบนั้นอยู่ที่ประเทศอิตาลี และเป็นที่ยอมรับว่าหากผลิตภัณฑ์ได้ผ่านมือของสำนักออกแบบเหล่านั้นนอกจากจะสวยโฉบเฉี่ยวนำแฟชั่นแล้วยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดได้ดีอีกด้วย เพราะใครๆก็อยากได้มีโอกาสใช้สินค้าที่ได้รับการรังสรรค์ขึ้นในอิตาลีกันทั้งนั้น โลกของเฟอร์นิเจอร์และแฟชั่นก็จะกระจุกตัวกันอยู่เมือง มิลาน แต่โลกของการออกแบบรถยนต์นั้นแยกไปอยู่ที่เมืองทางเหนือของอิตาลีที่ไม่ไกลจากมิลานนักที่มีชื่อว่า โตริโน่ หรือเรียกแบบอังกฤษก็ได้ว่า ตูริน (มิลาน, ตูริน และเจนัว เป็นเขตสามเหลี่ยมอุตสาหกรรมของอิตาลี) โดยมีสำนักออกแบบที่ดังก้องฟ้าอยู่มากมายในอดีต บ้างก็ยังคงเกรียงไกร บ้างก็ล้มหายตายจากไป เนื่องจากไม่สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ชื่อหลายๆชื่อสำหรับคนอายุอานามเกิน 30 ปีขึ้นไปนั้นก็ยังคงคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็น พินินฟารีนา, อิตัล ดีไซน์, ซากาโต และ แบร์โตเน่
ในแต่ละเดือนนับจากนี้ไปผู้เขียนจะขอนำเสนอ ผลงานชั้นยอดจากอดีตที่นักออกแบบรุ่นใหม่ควรที่จะทำการศึกษา และเรียนรู้ถึงแนวคิดของอัจฉริยะทางการออกแบบจากอดีต เพราะผู้เขียนเชื่อว่า การที่เราจะก้าวไปข้างหน้าได้มั่นคงเราก็ควรจะได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์เช่นกัน และสำนักออกแบบแรกที่ขอนำเสนอในเดือนนี้ก็คือ สำนักออกแบบ แบร์โตเน่ เจ้าแห่งเส้นสายเรขาคณิตและผู้ให้กำเนิด ซูเปอร์คาร์ ให้กับโลกของคนรักรถยนต์

Before the time of Art Center College from Pasadena and The Royal College of Art in London, the world of car design was based in Italy and the mecca was in Turin, the Automobile Capital of Italy, where all the big names were there ( some has gone and some are still going strong). At that time “designed in Italy” was a powerful term, everyone wanted one whether they are fashion, furniture or car design; the world looked at Italian’s Design Industries and keep followed them. If you are over 30, you might have heard or familiar with the name like, Pininfarina, Ital Design, Zagato and Bertone. Their works and history are worth study in which from this month till August I wish to present the series of Italian Car Design, their works and history. Starting this month is Stile Bertone, the Geometric Master and the founder of Super Car.


สำนักออกแบบแบร์โตเนนั้นถือกำเนิดขึ้นเกือบจะร้อยปีที่แล้วในปี 1912 ในเมืองตูริน โดยผู้ก่อตั้งมีชื่อ จิโอวานนี แบร์โตเน่ (Giovanni Bertone) ในระยะแรกเริ่มนั้นดำเนินธุรกิจต่อตัวถังรถยนต์ตามสั่งหรือที่เรียกว่า คาร์รอซเซเรีย (Carrozzeria) เนื่องจากในอดีตนั้นลูกค้าสามารถสั่งซื้อเพียงเครื่องยนต์, แชสสีร์ และระบบส่งกำลังจากผู้ผลิตรถยนต์แล้วนำมาให้เหล่าช่างฝีมือในการทำตัวถังเหล่านี้สรรสร้างผลงานในฝันได้ ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจสืบเนื่องมาจากยุคที่ยังมีการใช้รถเทียมม้ากันอย่างแพร่หลายนั่นเอง แต่ชื่อเสียงของ สำนักแบร์โตเน่มาโด่งดังเอาแบบจริงๆจังๆก็เห็นจะเป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้การนำของรุ่นที่ 2 ที่เป็นอัจฉริยะด้านการออกแบบที่มีนามว่า นุคชิโอ แบร์โตเน่ (Nuccio Bertone) ซึ่งผลงานที่เป็นที่ทำให้ชื่อเสียงของแบร์โตเน่ เป็นที่จดจำถึงยุคนี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในยุคสมัยของ นุคชิโอ ทั้งสิ้น


The Name “Bertone” has been in business since 1912 as a Coach Builder or Carrozzeria and founded by Giovanni Bertone. But the name has been flourished as famed by the work of genius designer, Nuccio Bertone after the WWII which most of well remembered works have been done during his era under the name Stile Bertone or Bertone Studio.


ลูกค้าหลักของ แบร์โตเน่ นั้น แน่นอนว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ (และจักรยานยนต์)อิตาเลียนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น อัลฟ่า โรมิโอ,เฟีตท, แลมโบร์กินี, มาเซอร์ราตี, แลนเซีย, แลมเบรทต้า (นานๆครั้งก็จะมี เฟอร์รารี่ ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของ พินินฟารีน่า หลุดเข้ามาเป็นลูกค้าด้วย) ส่วนลูกค้าจากต่างประเทศที่ใช้บริการก็มีหลากหลาย อาทิ ซีตรอง อาทิรุ่น DS, BX, ZX, และ Xantia รวมไปถึงบริษัทรถยนต์จากเกาหลีอย่าง แดวู รุ่นเอสเปอโร (ที่โดนตกเป็นผู้ต้องหา คดีคาร์บอมบ์ที่ฉาวโฉ่ในยุคนายกฯทักษิณ) รวมถึงรถยี่ห้อต่างๆบ้าง ประปราย


Their clients are mainly local car producer like Alfa Romeo, Fiat, Lamborghini, Maserati, Lancia and sometimes Ferrari (which is a loyal client of Studio Pininfarina). There international clients are several but most of the time they worked for Citroen for their DS, BX, ZX and Xantia range. They have very few clients from Asia and one of them is Daewoo, the work for Daewoo is the Italian wedge shape saloon called Espero. Whether it is not a strong selling model but Thai people are familiar with its name as it was involved in the notorious car bomb plot in the ex.PM Taksin Shinawatra.


แบร์โตเน่ ในยุคต่างๆ

ในช่วงยุค 50 นั้นประเทศอิตาลีพึ่งจะฟื้นตัวจากสภาพแพ้สงคราม รถยนต์ส่วนใหญ่ที่แบร์โตเน่ได้ออกแบบนั้นก็หนีไม่พ้นรถยนต์ขนาดเล็กอาทิ เฟียต1100 ซึ่งแพร่หลายกันอย่างมากในประเทศไทยเมื่อครั้งอดีต แต่สำนักออกแบบแบร์โตเน่ก็ได้สร้างวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่ดีกว่าไว้ด้วย รถยนต์ที่ล้ำสมัยที่สุดแห่งยุคอย่าง ซีตรอง ดีเอส 19 (Citroen DS19) หรือซีตรองหน้ากบที่คนไทยรู้จักกันดี และยังสร้างผลงานที่แสดงออกถึงความวิสัยทัศน์ที่ล้ำสมัยเรื่องอากาศพลศาสตร์ ด้วยรถยนต์แนวคิด อัลฟ่า โรมิโอ แบท ( Alfa Romeo B.A.T) ซึ่งสร้างขึ้นมารวม 3 รุ่นคือ รุ่น B.A.T 5, 7, และ 9


Bertone in time.

During the 50’s Italy just revived from the WWII and most of the car Bertone designed for that era were mostly small and economic car such as Fiat 1100 which was very popular in Thailand and still able to see a few of them being driven in suburb area nowadays. Regarding the economic difficulties, Stile Bertone still able to showed their vision of future with several concept car like Alfa Romeo B.A.T series which is the aerodynamic exotica of that time and also presented one of the most avant-garde production car of all time, the Citroen DS 19.


ในยุค 60 นั้น เส้นสายของของรถยนต์ที่ออกมาจาก สำนักแบร์โตเน่ นั้นก็ยังคงเป็นไปตามสมัยนิยมในยุคนั้นก็คือ เน้นความโค้ง และคอดเว้าแบบสรีระของอิสตรี รถยนต์ที่โดดเด่นของ สำนักแบร์โตเน่จากยุคนั้น ก็คือ เฟอร์รารี่ 250 จีที ลุสโซ (Ferrari 250 GT Lusso), อัลฟ่า โรมิโอ จีทีเอ (Alfa Romeo GTA), อัลฟ่า โรมิโอ มอนทริออล (Alfa Romeo Montreal) และในปลายยุค 60 นี้เอง สำนักออกแบบ แบร์โตเน่ ก็ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า ซูเปอร์คาร์ ขึ้นบนโลกใบนี้ และยังทำคลอดซูเปอร์คาร์แสนอมตะตามๆกันออกมาอีกเป็นขบวนๆ ซูเปอร์คาร์ คันนั้นก็คือ แลมโบร์กีนี่ มิวร่า (Lamborghini Miura) แห่งยุค 60 สิ่งที่ทำให้รถยนต์คันหนึ่งๆได้ยกฐานะขึ้นเป็น ซูเปอร์คาร์ได้นั้น นอกจากจะต้องมีความเร็วสูงแล้วจะต้องมีรูปร่างเหนือจริง (Surreal) อีกด้วย และ มิวร่านี้ก็ได้แสดงให้สาธารณชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คู่ต่อสู้ตลอดกาลของแลมโบร์กีนี่ อย่าง เฟอร์รารี่ เห็นว่า ซูเปอร์คาร์นั้นคืออะไร ซึ่งในเวลานั้นรถยนต์ที่ดีที่สุดของ เฟอร์รารี่ก็ยังไม่มีคันไหนที่มีรูปร่างสูสีกับรูปทรงที่เตี้ย แบน กว้าง และ เซ็กซี่สุดๆของมิวร่าได้เลย กว่าที่เฟอร์รารี่จะตามทันก็อีกนาน แม้ในปัจจุบันใครก็ตามที่ได้เห็นมิวร่าแบบตัวเป็นๆจะปฏิเสธไม่ได้เลยถึงความน่าตื่นเต้นแม้เพียงแค่ตาสัมผัส ลองจินตนาการกลับไปว่า เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วการปรากฏตัวของ มิวร่า นั้นก็สร้างความน่าตื่นตาเพียงใด


During the 60’s, the work and style of Stile Bertone followed the flavor of that time with curvy body and contour inspired by female body, their famous examples are Ferrari 250GT Lusso, Alfa Romeo GTA, Alfa Romeo Montreal but the most remembered one is the first “Supercar” the world has known, the mighty Lamborghini Miura! Unlike any typical super fast car examples of that time, Miura presented with “Super Surreal” shape and form, lower, wider and sexier which later defined the definition of Supercar till now. Their presence put the world ( and Ferrari)to shock! Even seeing one today it would raise your pulse, so try imagining its presence 40 years ago how it shook the world!


ยุค 70 คือยุคทองของการออกแบบรถซุปเปอร์คาร์ของ แบร์โตเน่ และเส้นสายที่ทำให้ แบร์โตเน่ เป็นเอกลักษณ์ ก็คือรูปทรงที่เน้นเส้นสายที่เฉียบขาดแนวเรขาคณิต ซึ่งคงเป็นเอกลักษณ์ของ แบร์โตเน่ มาตราบจนถึงยุค 2000 เลยทีเดียว รถยนต์ต้นแบบที่เป็นตัวแทนของยุคนี้ล้วนเป็นผลงานรังสรรค์ของหัวหน้าทีมนักออกแบบของแบร์โตเน่ นามว่า มาร์เชลโล่ แกนดินี (Marcello Gandini) ผู้ซึ่งมีอิทธิพลกับรูปทรงของซุปเปอร์คาร์จากอิตาลีต่อไปกว่า 3 ทศวรรษ ผลงานของเขาก็คือ แลนเซีย สตราโตร ซีโร่ ( Lancia Stratos Zero) รถต้นแบบล้ำจินตนาการ ที่มีรูปทรงลิ่มแบบถึงที่สุด ที่การเข้าห้องโดยสารทำได้โดยการเดินเหยี่ยบจมูกรถและเปิดกระจกบังลมหน้าเข้าไป การออกแบบของมันทุกวันนี้ยังดูล้ำยุคเป็นอมตะและได้รับเลือกให้เป็นรถของไมเคิล แจ็คสัน ในภาพยนตร์สุดพิศดารเรื่อง มูนวอร์กเกอร์ (ในเพลง สมูท คริมินัล)อีกด้วย, อัลฟ่า โรมิโอ คาราโบ (Alfa Romeo Carabo) ชื่อคาราโบนั้นแปลว่า แมงเต่าทอง ซึ่งชื่อนี้ได้มาจาก ประตูแบบกรรไกร อันโดดเด่น, ส่วนรถต้นแบบที่โดดเด่นคันอื่นๆก็ได้แก่ แลมโบร์กีนี่ บราโว( Lamborghini Bravo) และ อัลฟ่าโรมิโอ นาวาโฮ (Alfa Romeo Navajo)เป็นต้น
ในส่วนของรถยนต์ที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายจริงในยุคนี้เห็นจะไม่มีรถคันใดในโลกเด่นเกิน รถยนต์ ลัมโบร์กีนี่ คูนทาซ (Lamborghini Countach) อันเป็นผลงานเด่นของ แกนดินี่ไปได้ องค์ประกอบประตูแบบกรรไกรของ รถรุ่น คาราโบ และเส้นสายที่เป็นเหลี่ยมสันคมดุดันฝีมืออันเป็นเอกลักษณ์ของแกนดินี่ ทั้งสององค์ประกอบนี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ลัมโบร์กีนี่ไปตลอดกาล


The 70’s, the Golden Age of Supercar. The era led by Marcello Gandini, the head designer of Stile Bertone, he introduced the geometric wedge shape which became Bertone’s signature for another 3 decades. His most significant concept car are Lancia Stratos Zero, the car was ultra low with surreally wedge-shaped, and unusually short and wide, the access is via stepping over the nose of the car in order to get into the car via opened windscreeen. The car later appeared in Michael Jackson's 1988 film, Moonwalker as well as in his music video for Smooth Criminal.Others interesting concept are Alfa Romeo Carabo ( carabo means beetle), it presented the radical scissor type doors which later became an essential parts of Lamborghini car till now, Lamborghini Bravo and Alfa Romeo Navajo.


ยุค 80 และ 90 สำนักออกแบบแบร์โตเน่ ยังคงทำงานออกแบบต่อมาด้วยอิทธิพลการออกแบบแนวเรขาคณิตของ แกนดินี่ อย่างต่อเนื่อง รถเด่นของยุคนี้เห็นจะไม่พ้น สุดยอดของซุปเปอร์คาร์อย่าง ลัมโบร์กีนี่ ดิอาบโล (Lamborghini Diablo) และ ซิเซต้า มอโรเดอร์ วี 16 ที ( Cizeta-Moroder V16T) ส่วนรถทั่วๆไป นั้นเส้นสายและสัดส่วนแบบเรขาคณิตของ แบร์โตเน่ แม้ว่าจะดูกระชับลงตัว แต่ก็ไม่เรียกว่าอยู่ในกระแสนิยมอีกแล้ว รวมไปถึงการถดถอยของอุตสาหกรรมรถยนต์อิตาเลียนและ การเกิดขึ้นของนักออกแบบสายเลือดใหม่จากสถาบันการออกแบบจากทั้งอังกฤษ และอเมริกา ที่รุกคืบเข้ามาแย่งชิงตลาดของการออกแบบรถยนต์ไปจากตูริน ทำให้รสชาติแบบอิตาเลียนดูจะเลือนหายออกไปจากเวทีการออกแบบเข้าทุกขณะ


The 80s and 90s, Stile Bertone still had much of the influences from Gandini’s era. The Stunning wedge form and well proportion geometric form still worked well with Super but started to lost its magic effect over mainstream car together with the collapse of Italian automotive industry led to Bertone financial crisis in the next decade. The Last series of Supercars from Stile Bertone were Lamborghini Diablo and Cizeta-Moroder V16 T, both were designed by Gandini himself.


แบร์โตเน่ ในยุค2000 นี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของสำนัก ภายหลังจากการเสียชีวิตของ นุคชิโอ แบร์โตเน่ และการจากไปของ แกนดินี่ รถยนต์ที่ได้รับการผลิตจริงจากสำนักมีเพียง อัลฟ่าโรมิโอ จีที (Alfa Romeo GT) ในปี 2003 เพียงรุ่นเดียว และต่อมาสำนักออกแบบได้เข้าสู่ภาวะล้มละลายในปี2007 และประทังชีวิตบริษัทด้วยเงินอุดหนุนจากรัฐบาลรวมถึงผ่านการต่อรองซื้อขายบริษัทอีกหลายต่อหลายครั้ง และกลับขึ้นมายืนได้อีกในปี 2009 ด้วยการอุ้มชูจากคู้ค้าเก่าแก่อย่างบริษัท เฟียท ปัจจุบันได้กลับมาสร้างสรรค์ผลงานอีกครั้งหนึ่ง โดยผลงานล่าสุด 3 คันก็คือ รถต้นแบบ อัลฟ่า โรมิโอ แบท 11 (Alfa Romeo B.A.T 11)ที่สร้างขึ้นมาเป็นสมาชิกกับรถในตระกูล B.A.T จากยุค 50, แบร์โตเน่ แมนไทด์ (Mantide) และ แบร์โตเน่ แพนดิออน (Pandion) ซึ่งสองคันแรกนั้นยังคงออกแบบด้วยจิตวิญญานและเอกลักษณ์การออกแบบในสไตล์ แบร์โตเน่เท้ๆอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยการใช้มิติทรงเรขาคณิตและสัดส่วนที่อิ่มแน่นลงตัว แต่กับแพนดิออนนั้นต่างออกไปและนำแบร์โตเน่เข้าสู่ยุค ดิจิตัลดีไซน์อย่างเต็มรูปแบบ ดังที่ได้นำเสนอไปแล้วในเล่มที่ผ่านมา


Bertone in the 2000s, this is the toughest time the company ever faced with the lost of their spiritual leader, Nuccio Bertone and also Marcello Gandini has left company. The only significant production model ever created by Stile Bertone was Alfa Romeo GT in 2003. Bertone applied for “Concordato Preventivo” in November 2007, Italy’s equivalent of United States Chapter 11 bankruptcy protection due to several years of financial losses and followed by several changing handed but in 2009 the Stile Bertone together with Carrozeria Bertone became a member of Fiat Group, their long time business partner. Now the Stile Bertone is backing on track with 3 latest creations, the B.A.T 11, a newly joined member to the “advance aerodynamic experiment concept” created by Stile Bertone in the 50’s, the Bertone Mantide and the latest one Bertone Pandion. The first two cars are featured with Bertone original flavor, the well proportion geometric shape but the Pandion is different and presented with the new design paradigm and vision which promises to re establish the Stile Bertone as one of most inspiring design studio in the digital age.


อนาคตของดีไซน์จากอิตาลีอย่าง แบร์โตเน่ จะเป็นเช่นไร จะตอบรับกับแนวคิดใหม่ๆทัศนคติใหม่ๆของโลกได้ทันเวลาหรือไม่ เพราะอิตาลีนั้นแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วแต่ในหลายๆเรื่องก็ยังคงปิดตัวและอนุรักษ์นิยมอยู่มาก คงจะต้องเอาใจช่วยให้บริษัทสามารถอยู่จนฉลองครบรอบ 100ปีให้ได้และกลับมาผงาดได้อีกครั้งในฐานะ เจ้าแห่งซุปเปอร์คาร์ ผู้เขียนขอเอาใจช่วยครับ


The future of thoroughbred Italian Design studio like Stile Bertone is still uncertain whether it will be able to cope with a new attitude and demanding consumer of the 2010’s era. Italian whether being a developed country but in many dimension it is still a very conservative country, they need to adapt themselves to a new quicker pace before losing a race. I wish to see them able to celebrate their 100 years anniversary as well as backing on track as the Master of Supercar once again!

A new face of a Gentlemen’s car?






โฉมหน้าของยนตรกรรมสำหรับสุภาพบุรุษ?


รถยนต์ในปัจจุบันนี้ร้อยทั้งร้อยออกแบบโดยทีมของคนหนุ่ม (จะมีสาวๆบ้างก็นิดหน่อย) ดังนั้นมุมมองของพวกเขาก็จะสะท้อนความชอบและรสนิยมส่วนตัวของคนวัยหนุ่มระดับยี่สิบถึงสามสิบต้นๆ ที่ชอบความสนุกสนาน ท้าทาย และการแข่งขันออกมาไม่มากก็น้อย (แต่ก็ยังดีกว่าบางบริษัทที่ให้นักการเงิน มาช่วยออกแบบด้วย ซึ่งเฟล่าแฟชั่นนิสต้า ทั้งหลายก็มักจะค่อนแคะว่า รถยนต์ที่เราเห็นกันนั้นดูแล้วเป็นรถยนต์เสียเหลือเกิน คงจะสนุกหากมี“กูรู” สักคนบอกบริษัทรถยนต์ว่า “ฟังทางนี้พวกท่านทั้งหลาย เลิกสร้างรถยนต์หน้าตาเหมือนของเล่นเสียทีจะได้ไหม ฉันจะบอกให้ว่ารถยนต์ที่มันเริ่ดจริงๆมันเป็นอย่างไร”

The world of Automotive Design is the world led by young “male” designer (of course some are female), their works reflect their personality, they love something fun, wild, cheerful (not a wrong thing anyway). Of course, their taste are better than tasteless Joe and Jane however some fashionistas are criticized and look down on their work that those are too typical and car-like in design and wish to see “Guru” steps in and offer what is a truly “tasteful” design.

ซีตรองแบรนด์แห่งความภาคภูมิด้านความคิดอันก้าวล้ำของชาวฝรั่งเศสได้จับมือกับพันธมิตรสื่อสารมวลชนด้านแฟชั่นชายชั้นนำของสหราชอาณาจักรอย่าง นิตยสาร GQ ร่วมกันนำเสนอตัวแทนแห่งยนตรกรรมสำหรับชายชาตรีแห่งศตวรรษที่ 21 ผลลัพท์ที่ได้คือ GQbyCitroen รถยนต์ต้นแบบลำนล่าสุดที่เปิดตัวในงานแสดงรถยนต์แห่งกรุงเจนีวาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ และนับเป็นครั้งแรกที่นิตยสารจากสหราชอาณาจักรได้ประสานงานกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในลักษณะนี้

The GQbyCITROEN is a concept car born through a unique partnership between the UK’s market-leading quality men’s lifestyle monthly magazine and a team of Citroen designers, collaborating to create the ultimate gentleman’s drive. This is the first time a British magazine has collaborated with a car company in this way.
พัฒนาขึ้นจากบรีฟของบรรณาธิการนิตยสาร GQ, นายดีแลน โจนส์, ทีมออกแบบของ ซีตรอง ซึ่งนำโดยนักออกแบบหนุ่มชาวอังกฤษ นายมาร์ค ลอยด์ ผู้ซึ่งเป็นฝากผลงานการออกแบบไว้กับรถยนต์ซีตรองรุ่น DS3 ใหม่ ในรถรุ่น GQbyCITROEN นี้เขาได้อาศัยแรงบันดาลใจจากรถต้นแบบรุ่น GT (ที่ทางไอดีไซน์เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว เป็นรุ่นที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาสำหรับเกมส์ขับรถ กรันตูริสโม นั่นเอง) และผสมผสานเข้ากับบุคลิกของซีตรองมาใช้เป็นจุดตั้งต้น

Responding to a brief by GQ’s editor, Dylan Jones, Citroen’s team, headed by British designer – and the man responsible for the new Citroen DS3 – Mark Lloyd, took a new look at the GT theme and integrated it with a typical Citroen design approach bringing GQbyCITROEN from design outline to concept reality.

รถต้นแบบ GQbyCITROEN นี้ผสมผสานองค์ประกอบการออกแบบในสไตล์คลาสสิคที่รุ่มรวยรายละเอียด กับสไตล์ร่วมสมัยในส่วนของส่วนหน้า ส่วนท้าย และเส้นสายด้านข้างลำตัว รวมถึงกระจกหลังทรงเว้าอันเป็นเอกลักษณ์ของซีตรองมาช้านาน เข้าด้วยกันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

GQbyCITROEN dramatically combines classically sophisticated features and contemporary styling with a sculpted front end, rounded rear, strong body contours and sleek concave rear windscreen – a signature Citroen design.

การเข้าสู่ห้องโดยสารนั้นเป็นในสไตล์รถต้นแบบแท้ก็คือ แบบเปิดไปทางด้านหลัง ซึ่งคุณจะพบกับห้องโดยสารที่โออ่า เชื้อเชิญ และดูล้ำอนาคต และเพื่อให้เป็นรถสำหรับสุภาพบุรุษสุดเนี้ยบอย่างแท้จริง การตกแต่งภายในนั้นตกเป็นหน้าที่ของห้องเสื้อชายชั้นสูงแบรนด์เก่าแก่ อี.เทาว์ซ (E.Tautz) จากย่าน ซาวิลล์ โรวว์ (Savile Row) ของอังกฤษ (ย่านที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมของนักตัวสูทสุภาพบุรุษที่มีตำนานยาวนานของลอนดอน), นายแพททริค แกรนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ แบรนด์ กล่าวว่า “เสื้อผ้าที่สั่งตัดจากย่าน ซาวิลล์ โรวว์ นั้นจุดเด่นก็คือความสมดุลและลงตัว และแบรนด์ เทาว์ซ นั้นก็นำเสนอบุคลิกภาพแบบทหารที่เรียบง่ายตรงไปตรงมาให้กับการตกแต่งภายในอันเสริมกันดีกับการออกแบบตัวถังสไตล์ฝรั่งเศสที่ฟู่ฟ่า

The car’s cabin is accessed by rear coach doors and reveals a spacious, comfortable and futuristic cabin. Completing the car’s bespoke styling; the interior detailing and upholstery selections were provided by Patrick Grant, the Creative Director of prestigious Savile Row tailors, E.Tautz, who commented: “Savile Row is all about balance and Tautz's simple military inspired interior is the perfect counterpoint to the Gallic flair of the exterior.”

นายดีแลน โจนส์ ผู้นำเสนอแนวคิดทั้งหมดได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบไว้ว่า “ผมต้องเห็นสิ่งที่ใช้งานได้ลงตัว แต่ในเวลาเดียวกันต้องดูเจ๋ง และให้ความรู้สึกที่เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร บางสิ่งที่ดูไม่เหมือนกับรถแนวคิดทั่วๆไป รถของนิตยสาร GQ นั้นต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ปัจจัยปรารถนา’ และในเวลาเดียวกันต้องเห็นได้ รู้สึกได้ และขับได้ ในแบบที่ไม่มีคนสติสมประกอบคนใดเลือกจะปฏิเสธ เราต้องการใหมันดูแล้วพิเศษสุดๆ”

Dylan Jones commented: “I wanted something practical, something cool, and something idiosyncratic – i.e. something surprising that didn’t just look like a concept car. The GQ car needed to have the ‘want’ factor, but it also needed to look, feel and ‘drive’ like the sort of car no sane man could choose to ignore. We think it looks very very special.”

ในด้านของสมถรรนะและความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมนั้นก็ถือเป็นโจทย์ที่สำคัญยิ่งของโปรเจคนี้ (แน่นอนว่ารถต้นแบบนั้นไม่มีใครพลาดที่จะแสดงตัวเลขสุดหวือหวาแบบที่ทำจริงไม่ได้ในชีวิตจริงอยู่แล้ว..ผู้เขียน) รถ GQbyCITROEN นี้ขับเคลื่อนด้วยระบบปลั้กอินไฮบริด ร่วมกับเครื่องยนต์ 4 สูบเบนซินแบบไดเร็คอินเจ็คชั่นขนาด 1,598 ซีซี ที่ทำอัตราเร่งได้หวือหวา 0-100 กม/ชม ภายใน 4.5 วินาที ความเร็วสูงสุดระดับ 250 กม/ชม พร้อมปล่อยไอเสียต่ำเพียง 80กรัม ต่อกิโลเมตร

Dynamic performance and environmental responsibility were also key requirements for the project. The GQbyCITROEN concept car is powered by a plug-in Hybrid with a 1,598cc, 4-cylinder direct injection petrol engine offering a sporty 0-60mph time of just 4.5seconds, an electronically limited top speed of 155mph and CO2 emissions of just 80g/km.

นายมาร์ค ลอยด์ หัวหน้านักออกแบบของโปรเจคนี้เสริมด้วยว่า “สิ่งที่รถคันนี้เข้ากับบุคลิกของ GQ มากๆก็คือมันลงตัวกับรูปแบบการบริโภคและรสนิยมของผู้บริโภค มันดูไม่โอ้อวดแต่ก็ปราดเปรียวสง่างาม และด้วยทักษะของห้องเสื้อจากซาวิลล์ โรวว์ ที่ทุ่มเทลงไปในห้องโดยสาร เราสามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกที่เฉพาะตัว พอดิบพอดี”

Mark Lloyd, Chief Designer of Citroen International Projects added: “Where this car works so well with GQ is that it fits with the current attitudes of conspicuous consumption. It is understated rather than in-your-face and sleek rather than too macho. With the skills of a Savile Row tailor on the car’s interior we have also achieved that bespoke, fitted feel, both inside and out.

“สำหรับผม (มาร์ค ลอยด์) รถยนต์ที่แสดงออกถึงจุดสูงสุดของความโดเด่นของโลกยนตรกรรมเห็นจะเป็นรถยนต์ประเภท GT, แกรน ทัวเรอร์, มันจะต้องไม่เป็นรถสปอร์ตพันธ์แท้สำหรับการแข่งขันสนามแข่ง แต่มันจะต้องเป็นบางสิ่งที่แสดงออกถึงจิตวิญญานของความเป็นสุภาพบุรุษ สมรรถนะที่มันมีนั้นมีไว้เพื่อการเดินทาง ไม่ใช่เอาไว้แข่งกัน เราต้องการสร้างบางสิ่ง ,เช่นกันกับ GQ ที่แสดงออกถึงความปรารถนา และในเวลาเดียวกันรักษาไว้ซึ่งความสมบูรณ์แบบและจิตวิญญานของยนตรกรรมแบบคลาสสิค เราไม่ได้ต้องการที่จะสร้างรถยนต์สำหรับตลาดทั่วไป แต่เราต้องการรถยนต์สำหรับ GQ

“For me, the car that has always represented the pinnacle of automotive excellence and refinement is the GT – the Grand Tourer. It is not the all-out sports car, rather it is something gentlemanly, it has performance and it is for travelling, not racing. We wanted to create something that, like GQ, was aspiration, but also retained the classic automotive ideals. We didn’t want a car for the mass market. We wanted a car for GQ.’”

ไม่ทราบว่าสิ่งที่เหล่า “กูรู” รสนิยมวิไล และนักออกแบบรถยนต์ที่ทำงานร่วมกันจะออกมาหัวหรือก้อยอย่างไร ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า รถยนต์รุ่นนี้ไม่ได้แตกต่างจากรถที่นักออกแบบรถยนต์ทั่วๆไปทำออกมาตรงไหน หรือจะเป็นว่าสายตาของผู้เขียนนั้นยังสอบตกเรื่องแฟชั่นอยู่ แล้วท่านผู้อ่านล่ะเห็นเป็นเช่นไร?

I still wonder to see the difference created by this collaboration, the Guru and the car designer that really brought in the fresh air to the world of car design but unfortunately I still cannot find here, to me this concept car is still just another “sharp and sexy” example and still unable to get along with their style description. I may need to have a class in Men’s Fashion 101 to understand their style, how about you? What do you think?


Special thanks to www.seriouswheel.com