The Collection of Car Articles from Sunday issue of Dailynews Newspaper by Patrakit Komolkiti ( also known as "อ้วนซ่า แอบซิ่ง"
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
The Legend of Turin, Episode 2: Pininfarina, The Immortal Hero
ตำนานแห่งเมืองตูริน บทที่ 2: ปินินฟารีนา ฮีโร่ผู้เป็นอมตะ
ความเดิมจากฉบับที่แล้ว เราได้เปิดตำนานด้วยเรื่องราวของสำนักออกแบบรถยนต์ที่เก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งของโลกคือ แบร์โตเน่ ซึ่งมีอายุเกือบจะครบหนึ่งศตวรรษในเร็ววันนี้ ตำนานบทที่ 2 นี้จะเป็นตำนานของสำนัก ปินินฟารีนา สำนักออกแบบที่เก่าแก่ไม่แพ้แบร์โตเน่ และยังเรียกได้ว่าเป็นสำนักที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งในอิตาลี หรือจะว่าในโลก (ของยานยนต์) ก็ว่าได้
From the previous issue, we have opened up the 1st episode of the legendary car styling house from Turin by introducing the house of Bertone which in a couple of year will celebrate its Centennial anniversary. In this issue we will continue on our journey in the region of the Northern Italy and explore the legend of Pininfarina, the immortal hero of the Italian Car Design.
ตำนานของปินินฟารีนานั้นเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษที่ 30 ภายใต้การนำของ บัททิสตา “ปินิน” ฟารีนา ปัจจุบันลูกหลานของคุณทวด “ปินิน”ได้เปลี่ยนนามสกุล ฟารีนา มาเป็น นามสกุล ปินินฟารีนา กันหมดแล้ว เพราะว่าผลงานที่สร้างไว้ล้วนแล้วแต่สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจจนกระทั่งต้องนำชื่อบริษัทมาตั้งเป็นชื่อสกุล (ในเมืองไทยเอง ก็ได้ยินว่ามีหลายตระกูลเหมือนกันที่นำเอาชื่อกิจการมาเป็นชื่อสกุล อาทิ ตระกูล “หวั่งหลี” อดีตเจ้าสัวใหญ่ด้านการเงินแห่งธนาคารนครธนในอดีตซึ่งนำเอาชื่อของบริษัทค้าข้าวของตนตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์มาเป็นชื่อตระกูล) ผลงานที่โด่งดังส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่มาจากยุคของ อองเดร ปินินฟารีนา ผู้บริหารหนุ่มมือทอง สมองเพชร ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน “25 ดาวเด่นของยุโรป” เขาได้มาทำงานกับบริษัทของครอบครัวตั้งแต่ยุค 80 และได้เป็นซีอีโอของกลุ่ม ปินินฟารีนาตั้งแต่ปี 2001 และได้ต่อสู้จนกระทั่ง ปินินฟารีนา เป็นสำนักออกแบบหนึ่งเดียวที่ยังคงแข็งแกร่งในอิตาลี ขณะที่ตำนานเจ้าอื่นๆต่างริบหรี่ลงไปเรื่อยๆ
The legend of Pininfarina began in the 30’s, founded by Battista “Pinin” Farina. Nowadays the company is still belonging to the Pininfarina’s family. The Farina surname had been changed to Pininfarina as the company flourished and became anonymous with excellence in automotive industry. Today, most of the successful modern Pininfarina design car was from the reign of the brilliant “Andrea Pininfarina”. He was one of the most accomplished CEO in Europe and was awarded as one of the “ 25 Stars of Europe”. He joined his family business since the 80’s and became Pininfarina Group’s CEO in 2001. Under his management, Pininfarina Group has managed to be one of a very rare breed in automotive design business in Italy that survives from the extinction.
แต่ปัจจุบันผู้กุมบังเหียนของ สำนักปินินฟารีนาก็คือ เปาโล ปินินฟารีนา น้องชายของ อองเดร ปินินฟารีนา เพราะอองเดรได้เสียชีวิตลงอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในปี 2008 จากอุบัติเหตุทางจราจรจากการโดนรถยนต์ที่ขับโดยชายชราอายุ 78 ปี ชนขณะเขาขี่สกู้ตเตอร์ในเมืองตูรินนั่นเอง
However after Andrea’s tragic road accident in the year 2008, he and his Vespa were hit by a car which had been driven by a 78 years old man in the small town of Turin, the management is now under the supervision of Paulo Pininfarina, Andres’s brother.
ผู้อุปถัมภ์หลักๆของ สำนักออกแบบที่มีชื่อเสียงในอิตาลี ก็เห็นจะไม่พ้นบริษัทรถยนต์หรูจากยุโรปเจ้าต่างๆ โดยเฟอร์รารี่ดูเหมือนจะเป็นผู้อุปถัมภ์หลักอย่างเป็นทางการของสำนักปินินฟารีนาอย่างชัดเจนเพราะ รถยนต์ของค่ายม้าลำพองแทบจะทุกรุ่นล้วนแล้วแต่เป็นการรังสรรค์ขึ้นของสำนักนี้ทั้งสิ้น (รุ่นที่อุตริไปให้สำนักแบร์โตเน่ ออกแบบให้ก็ดูจะไม่ถูกจริตลูกค้าเอาซะจริงๆ) ส่วนค่ายอื่นๆนั้นก็อาทิ มาเซอร์ราตี โรลสรอยส์ จากัวร์ วอลโว่ เปอร์โยต์ อัลฟาโรมิโอ และลันชิอา นอกจากค่ายยุโรปแล้ว ปินินฟารีนา ยังคงออกแบบและประกอบรถยนต์รุ่นต่างจากทวีปอื่นๆอีกด้วยโดยลูกค้าในแฟ้มของเขามีหลายหลายไม่ว่าจะเป็น คาดิลแลคและ ฟอร์ด จากสหรัฐอเมริกา, ฮอนด้าและ มิตซูบิชิ จากญี่ปุ่น, แดวู และฮุนได จากเกาหลี, ทาทา จากอินเดีย,และ บริลเลี่ยนซ์ และฮาเฟย (ขายในประเทศไทยในชื่อ นาซา) จากประเทศจีน
The list of clients of the famous Italian design house is without doubt coming from luxury car maker brands, and Ferrari seems to be an official patronage as more than 90% from the house of Prancing Horse has been designed by Pininfarina ( some Ferrari had been designed by Bertone but they are considered as a foster child among other Ferraris). The lists of European Clients consist of Maserati, Rolls Royce, Jaguar, Volvo, Peugeot, Alfa Romeo and Lancia, other than that come from both the Atlantic side and from Far East for example, Cadillac& Ford from USA, Honda & Mitsubishi from Japan, Daewoo& Hyundai from Korea, Tata from India and Brilliance& Hafei from China.
โดยชื่อเสียงของปินินฟารีนานั้นส่วนหนึ่งมาจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบเปิดประทุนให้กับรถยนต์หลายต่อหลายรุ่นให้กับบริษัทต่างๆจากทั่วโลก และในปัจจุบันนี้ยังเริ่มที่จะพัฒนาและวิจัยรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าไร้มลภาวะอย่างจริงจัง โดยตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดจากการร่วมทุนกับบริษัทแบตเตอรี่ บอลโลเร่ (Bollore) จากประเทศฝรั่งเศส รถต้นแบบที่นำเสนอแนวคิดด้านการใช้พลังงานไฟฟ้านี้มีด้วยกัน 2 คันคือ รถยนต์รุ่น บีซีโร่ ( B-0) และรถรุ่น นีโด (Nido) ซึ่งได้ทำการทดลองสร้างขึ้นมาเพื่อประเมินในการใช้งานจริงแล้วจำนวนหนึ่ง ปัจจุบัน ปินินฟารีน่ามีพนักงานกว่า 3 พันคน มีโรงประกอบและมีอุโมงค์ลมขนาดใหญ่เป็นของตนเอง และเป็นบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นของอิตาลีอีกด้วย
Other than creating a new concept and design for car, Pininfarina also have other reputation as a specialist in convertible roof mechanism and now Pininfarina is one of the pioneering in exploring the new frontier for clean energy car by joining with Bollore, an expert in Battery technology from France, and the result was a couple of concept cars, the B-Zero and Nedo. The cute yet cleverly design, inspired by egg yolk, “Nedo” has been produced in a handful samples for trial and assessment too. Today, Pininfarina’s empire consists of more than 3,000 employees, full size Wing Tunnel, assembly plants and registered in Italian Stock Market.
นอกเหนือจากรถยนต์ที่เป็นธุรกิจหลักแล้ว ปินินฟารีนา ยังได้ขยายทักษะความสามารถออกไปในอีกหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการออกแบบยานพาหนะชนิดอื่นๆ อาทิ รถไฟ รถราง เรือสำราญ และยังขยายไปถึงการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบผลิตภัณฑ์อีกด้วย ผลงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เด่นๆของ ปินินฟารีนา นั้นดูออกจะแตกต่างจากผลงานเชิงการออกแบบผลิตภัณฑ์จากของสำนักออกแบบผลิตภัณฑ์อื่นๆอยู่พอสมควร เพราะแม้จะไม่กิ้บเก๋ เหมือนงานจากญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส แต่ดูจะโดดเด่นเรื่องมิติและแสงเงาที่งดงามดูเป็นงานประติมากรรมและยังประกอบไปด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมที่งดงาม อันเป็นอิทธิพลจากการออกแบบยานยนต์มาอย่างชัดเจน ผลงานที่โดดเด่นนั้นมีหลากหลายอาทิ คบเพลิงโอลิมปิคฤดูหนาวประจำปี 2006, นาฬิการะบบตูร์บิยอง ของค่าย โบเวต, รองเท้าวิ่งของฟิล่า, จอมอนิเตอร์ของซัมซุง, ตู้น้ำอัดลมโคคาโคล่า, ไม้กอล์ฟของมิซุโน่ (ที่ใช้อุโมงค์ลมของปินินฟารีนา ในการพัฒนารูปทรงให้แหวกอากาศได้อย่างเฉียบขาดอีกด้วย!), บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ของเกอร์แลงค์, เครื่องทำกาแฟของลาวัซซ่า, แว่นตาของเรย์แบนด์, เฟอร์นิเจอร์สำนักงานและที่พักอาศัยรวมถึงสุขภัณฑ์รูปทรงล้ำสมัยเหมือนรถยนต์สปอร์ตอีกหลายต่อหลายยี่ห้อ (เชื่อว่าบริษัทเหล่านั้นคงจะให้บรีฟชนิดหวานคอแร้งว่า “เอาให้เหมือนรถสปอร์ต”,เพราะผลลัพธ์นั้นมันช่างเป็นอิตาเลียน “คาร์”ดีไซน์เอาซะจริงๆ) ไปจนกระทั่ง ออกแบบสนามฟุตบอลให้กับสโมสรฟุตบอลจูเวนตุส (Juventus FC) กันเลยทีเดียว น่าจับตามองว่าสักวันหนึ่งสำนักปินินฟารีน่าอาจจะหันมาทำงานออกแบบอุตสาหกรรมอย่างจริงๆจังๆก็เป็นได้
Apart from Automotive Industry which is Pininfarina’s core business, the company today has expanded its wings into other disciplines of design ranging from Train, Tram, Luxury Yacht, Architecture and Industrial Design. Since the root and route of design are different from conventional Industrial Design and Architect firm from Japan or France, you can tell by experiencing the appearance of Pininfarina’s object of design that it has distinct taste which reflects its origin as an Automotive Design house. Their works consist of a 2006 Winter Olympic Touch (refined in the wind tunnel to withstand even the worst weather), Bovet’s Tourbillion watch, Fila running shoe, Samsung Computer monitor, Coca Cola dispenser, Mizuno Golf club ( again, refined in wind tunnel for higher swing speed), Guerlain perfume bottle, Lavazza Espresso maker, Ray Ban sunglasses…and they even design a new stadium for Juventus FC, the lists are continuingly expand and can imagine that one day Pininfarina’s domain might shift from car to industrial design.
รถเด่นจากยุคต่างๆของปินินฟาริน่า
Pininfarina’s Star cars
รถเด่นยุคแรกๆของปินินฟารีน่านั้นเห็นจะไม่พ้นรถยนต์ อัลฟ่าโรมิโอ รุ่น 8C และ คิซิทาเลีย202 (Cisitalia) จากยุค 40 ตอนปลาย รวมไปถึงจากยุค 50 และ 60 ที่รถยนต์อมตะอย่าง อัลฟ่าโรมิโอ สไปเดอร์ ดูเอ็ทโต (Alfa Romeo Spider Duetto), และเฟอร์รารี่ รุ่น ดีโน่ (Dino)206, 250 GTO และ 275 ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาด้วยสัดส่วนที่เรียบง่าย งดงาม สะโอดสะอง กระทัดรัด ไร้กาลเวลา เสมือนเครื่องดนตรีอย่างไวโอลิน หรือแซกโซโฟนที่ประสานเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับผู้เล่น เพราะทุกรายละเอียดนั้นพอดิบพอดี ไม่มีขาดไม่มีเกิน นับเป็นยุคคลาสสิคของ ปินินฟารีน่าอย่างแท้จริง ความสำเร็จนี้ เป็นรากฐานทางความคิดให้กับปินินฟารีน่าในยุคต่อๆมาอีกหลายทศวรรษ
The 40’s-60’s , The age of Elegance: The most famous car from the early age of Pininfarina during the 40’s is certainly Alfa Romeo 8C and Cisitalia 202 but the car that really made Pininfarina a household name was Alfa Romeo Spider Duetto; the star car from the film “The Graduate” starring Dustin Hoffman, Ferrari Dino 206, Ferrari 250GTO, and Ferrari 275. Those cars had been created to have a compact, simple, elegant yet gorgeous and romantic in shape and form. The design was musical instrument-like, it blended into the rhythm and soul of player, every details were just about right, no more no less and the effect is intimate and addictive yet timeless. This era is considered one of the Pininfarina best work and created a fundamental for their style many decades later.
ยุคทศวรรษที่ 70 ยุคแห่งแนวคิดอนาคต ด้วยแรงบันดาลใจจากการเดินทางในอวกาศจากการที่มนุษย์สามารถไปถึงดวงจันทร์ได้ รถยนต์ต้นแบบจากยุคนั้นต่างก็แสดงออกถึงความท้าทายของการเดินทางในอวกาศ และโลกแห่งอนาคตด้วยรถยนต์ที่รูปร่างแหวกแนว เทรนด์นี้บุกเบิกโดยแบร์โตเน่ ภายใต้การนำของ มาร์แชลโล่ แกนดีนี่ (Marcello Gandini) ได้นำเสนอรถทรงลิ่มสุดล้ำอย่าง ลันชิอา สตราโตส ซีโร่ (Lancia Stratos Zero) ส่วนค่ายปินินฟารีน่าก็ได้ปล่อยหมัดสวนที่ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจคนรักรถมาจนถึงทุกวันนี้ด้วยแนวคิด เฟอร์รารี่ โมดูโล (Ferrari Modulo) ที่ล้ำสมัยด้วยการเปิดเข้าห้องโดยสารในระบบที่คล้ายคลึงกับเครื่องบิน แนวคิดของโมดูโล่นั้นก้าวหน้าเสียจนไม่น่าเชื่อว่าออกแบบมากว่า 40 ปีแล้ว ล้ำเสียจนกระทั่งปินินฟารีน่าต้องจับมาปัดฝุ่นเสียใหม่ พัฒนาขึ้นมาเป็นรถต้นแบบ มาเซอร์ราตี เบิร์ดเคจ 75 (Maserati Bird Cage 75th) ในปี 2005 ที่แม้จะใช้แนวคิดอายุเกือบ 40 ปีก็ยังทำให้ผู้ที่พบเจอรู้สึกทึ่งได้ทุกครั้ง
The 70’s, the Space Adventure: The trend was pioneered by Marcello Gandini from the house of Bertone with the car like Lancia Stratos Zero inspired by the image of space race between USA and USSR where the wedge shape and ultra low stance were the key to its futuristic look. The counter attack from house of Pininfarina was the “Ferrari Modulo” , the answer to the Stratos Zero was as exciting and as avant-garde. With Jet Fighter-like canopy and extremely low stance, the shape is still creating a heart stopping effect imagine seeing one on the road and as 35 years passed by house of Pininfarina reinterpreted the design concept once again with the Maserati Birdcage 75th concept vehicle in 2005, the result is still as fresh as it was first introduce in the 70’s.
ยุคทศวรรษที่ 80 ยุคแห่งเศรษฐีตลาดหุ้นและจุดจบของเรขาคณิต ห้วงเวลาที่เส้นสายเรขาคณิตที่เคยมาแรงในอิตาลีในยุค 70 กำลังจะจางหายไป แต่สำหรับปินินฟารีน่าแล้ว ทักษะทางการออกแบบของพวกเขานั้นอยู่เหนือกระแสแห่งแฟชั่นนิยม เพราะแม้โลกจะเปลี่ยนไปในทางใด เส้นสายอันสง่างาม สะโอดสะองก็ยังคงใช้งานได้เสมอ พวกเขาสามารถนำเสนอความลงตัวของเรขาคณิตที่แม้จะเล่นเหลี่ยมมุมแต่กลับพริ้วเบา ไร้ขอบแข็งกร้าว แต่ท้าทายกาลเวลาได้ อาทิ อัลฟ่าโรมิโอ 164 (Alfa Romeo 164), เปอร์โยท์ 405 (Peugeot 405)
และในเวลาเดียวกันก็ได้นำเสนอนวัตกรรมการออกแบบที่บ้าบิ่น ท้าทายกรอบความคิด ด้วยการออกแบบรถยนต์ที่แหวกแนวที่สุดคันหนึ่งของเฟอร์รารี่ขึ้นมา นั่นก็คือ เฟอร์รารี่ เทสตารอสซ่า (Ferrari Testarossa)จาก 1984 รูปทรงของเทสตารอสซ่านั้นสะท้อนความฟู่ฟ่าของเศรษฐีใหม่ที่ร่ำรวยในข้ามคืน พวกเขาต้องการที่จะให้คนมองเป็นสายตาเดียวกัน อะไรจะดีเท่า ท้ายรถที่กว้างเท่ารถเมล์ รูปทรงลิ่มยาวลาดที่ถูกเน้นให้เด่นขึ้นมาด้วยช่องดูดอากาศที่ประดับด้วยครีบหลายชั้น รูปทรงที่ทุดคนที่ตาไม่บอดต้องมองอย่างเหลียวหลัง! สำหรับแฟนพันธ์แท้ของม้าลำพองแล้วแนวคิดนี้ถือว่าเป็นขบถ อย่างถึงที่สุด เพราะเฟอร์รารี่นั้น แต่ไหนแต่ไรก็ล้วนแล้วแต่มีรูปทรงสะโอดสะอง คลาสสิค เป็นผู้ดีทุกกระเบียดนิ้ว ไฉนปินินฟารีน่าถึงได้สร้างสรรค์อะไรซึ่งโฉ่งฉ่างและอวดดีเช่นนั้นออกมา แม้ว่าจะได้รับวิจารณ์ที่ไม่สู้ดีนัก แต่ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่มี แลมโบกีนี่ คูนทาซ (Lamborghini Countach) เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ก็เห็นจะมีเทสตารอสซ่า เท่านั้นที่สามารถแข่งยอดขายโปสเตอร์ที่แปะไว้เหนือหัวนอนเด็กชายทั้งหลายทั่วโลกกับมันได้ (ผู้เขียนเองก็คนหนึ่งที่มี) เห็นได้ชัดว่าวิสัยทัศน์ของ ปินินฟารีน่านั้นไปไกลจริงๆ
The 80’s, an era of Stock Market Yuppy and the end of geometrical era: The geometric form and wedge design language which had seen their high in fashion during the 70’s had started to faded away during an extravagant 80’s. Some design house, Bertone for example, that initiated the wedge trend struggled hard but unfortunately failed to evolve . On the other hand, the house of Pininfarina had other tricks up their sleeves. As regarded as a master of elegance, even the world’s taste and trend were shifted from geometric to a curvier and organic form, they were able to create a car that still express the vision of simplicity , lightness and classic design out of the obsolete trend, Alfa Romeo 164 and Peugeot 405 are the evidence of their pursuit. Conversely, the 80’s is Pininfarina first path toward a design for a nouvelle rich, Ferrari Testarossa from 1984 was considered one of the most vulgar and loudest design Ferrari to date. With the large fin type air intake on side and super wide butt, everything on this car were created to call attention which is totally contrasted to what Ferrari had been. Testarossa is the first new generation Ferrari, where understatement is not the key. The car critic and hardcore Ferrari fan didn’t like it much but it couldn’t refuse that Testarossa was so adrenaline stimulate and had been a best seller in the type of “Poster” to adorn thousands of young boy all over the world ( only the Lamborghini Countach could match it). Personally I respect its avant-garde design so much and admit that I also had one of the poster when I was young as well.
ยุคทศวรรษที่ 90 และ 2000 ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ยุค 90 นั้นเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับสำนักออกแบบอื่นๆในอิตาลีที่ยังปรับตัวกับการเกิดขึ้นของคู่แข่งจากโรงเรียนออกแบบจากสหรัฐอเมริกาอย่าง อาร์ตเซ็นเตอร์ (Art Center)และ อาร์ซีเอ ( RCA,The Royal College of Art) จากสหราชอาณาจักรไม่ได้ แต่กับปินินฟารีน่านั้นดูเหมือนกับว่าจะไหวตัวได้ทันและ ว่าจ้างนักออกแบบอัจฉริยะชาวญี่ปุ่นผู้นำเอาแนวคิดและ สไตล์ทางการออกแบบใหม่ๆเข้ามาสู่อิตาลี ชื่อของเขาก็คือ เคน โอคุยามะ (Ken Okuyama) ตัวของเคนนั้น เป็นคนญี่ปุ่นโดยกำเนิดแต่ได้มีโอกาสไปร่ำเรียนศาสตร์ทางการออกแบบรถยนต์มาจาก สำนัก อาร์ตเซ็นเตอร์ และได้ฝากฝีมือไว้กับการออกแบบรถสปอร์ต ฮอนด้า NSX อันเลื่องลือ รวมไปถึงการพัฒนารถยนต์ ปอร์เช่รุ่น 996 อีกด้วย หลังจากนั้นเขาได้เข้าไปเป็นอาจารย์สอนการออกแบบให้กับสถาบันอาร์ตเซ็นเตอร์ ก่อนที่จะได้เข้ามาทำงานกับปินินฟารีน่าในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาและปินินฟารีน่าก็คือ เฟอร์รารี่ เอ็นโซ่ (Ferrari Enzo) และมาเซอร์ราตี เบิร์ดเคจ 75 (Maserati Bird Cage 75th)รวมไปถึง เฟอร์รารี่ พี4/5 (Ferrari P4/5) อิทธิพลทางการออกแบบของเขาคือการนำเอาค่านิยมและความท้าทายจากญี่ปุ่นและอเมริกามาผสมผสานเข้ากับรสนิยมอันละเมียดมะไมของชาวอิตาลีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นทำให้งานออกแบบของ ปินินฟารีน่านั้นดูมีความร่วมสมัยแตกต่างจากสำนักอื่นๆอย่างเห็นได้ชัดเจน
The 90’s and 2000, the age of change: The 90’s, Italian design had seen the lowest and lose their client to the strong competition from the new schools of design, to name the RCA and The Art Center. Unquestionable, the magic of Italian design had lost it mantra and people were enjoying a fresher style from the UK and USA. However the house of Pininfarina quickly adapted to the change and employed a prodigy Japanese designer into the team, his name is Ken Okuyama. Ken is a Japanese born but trained as a car designer from The Art Center College in the USA. His early portfolio included the styling of Honda NSX, one of the best Japanese car of all time, and also being a part in revitalized program for Porsche 911 which became the 996. At the time Pininfarina invited him to join the company, he also taught at his college, The Art Center. Employing a foreigner, let alone a Japanese, to be a head of design in an Italian company was not a common practice but Pininfarina has a strong confident in him. With Pininfarina’s vision and his fresh idea, his position as a Design Director was phenomenon! He created a number of legendary cars include the Ferrari Enzo, Maserati Birdcage 75th, and Ferrari P4/5. Ken brought with him a Japanese sense of futuristic dream, an American sense of exploration to blend with Italian sense of art, these created a recipe that not only unique, contemporary but also eternal.
ในยุคนี้ยังเป็นยุคที่ปินินฟารีน่า ขยายตัวเองออกไปสู่มุมโลกที่ไกลออกไป อย่างประเทศจีนและอินเดีย ปัจจุบันปินินฟารีน่ามีสำนักงานในประเทศจีนและพร้อมที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกิดใหม่ของจีนอย่างเต็มกำลัง ด้วยความพร้อมด้านเทคโนโลยีสะอาดอย่างแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าแบบโซลิตสเตท ลิเธียมโพลิเมอร์ และ ซุปเปอร์คาปาซิเตอร์ (solid-state lithium-polymer battery & supercapacitors) เห็นได้ชัดเจนว่า แม้ว่าโลกจะหมุนไปเช่นไรผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และไม่ปิดกั้นความคิดใหม่ๆย่อมจะพบทางรอดในกระแสเชี่ยวกรากแห่งความเปลี่ยนแปลงเสมอ
The present time, the age of diversification: This is a new era that Italian design is expanding to the new frontier as India and China are their new patronage. With their new wisdom in the clean technology like Solid State Lithium Polymer Battery and Super Capacitors, the new opportunities are opening up and wait for anyone who run faster and go with courage. Pininfarina is one of a good example of a company with a vision, a company who always ready for a change. It is not too overstate for me to call the Pininfarina, The Immortal Hero.
ป้ายกำกับ:
Alfa Romeo,
Car Design,
Ferrari,
History,
Italy,
Ken Okuyama,
Luxury,
Maserati,
Peugeot,
Turin
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น