วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

The Legend of Turin, episode 1: Bertone, Master of Geometric form












ตำนานแห่งเมืองตูริน, บทที่ 1 แบร์โตเน่ เจ้าแห่งเรขาคณิต


หากจะกล่าวถึงโลกของวงการการออกแบบรถยนต์ในยุคปัจจุบัน เราต่างก็ยอมรับกันดีว่า สถาบันที่มีบทบาทอย่างมากต่อการออกแบบรถยนต์ในยุคนี้ก็คือ สถาบันการออกแบบ อาร์ต เซ็นเตอร์ แห่งเมือง พาซาดีนา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (Art Center College of Design, Pasedena) และสถาบัน รอแยลคอลเลจ ออฟ อาร์ต แห่งกรุงลอนดอน (Royal College of Art, London) แต่ว่าหากย้อนอดีตกลับไปก่อนยุค 80 ก่อนที่สถาบันทั้งสองจะผงาดขึ้นมานั้น หากพูดถึงเรื่องของการออกแบบนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่ากรุงเมกกะแห่งโลกการออกแบบนั้นอยู่ที่ประเทศอิตาลี และเป็นที่ยอมรับว่าหากผลิตภัณฑ์ได้ผ่านมือของสำนักออกแบบเหล่านั้นนอกจากจะสวยโฉบเฉี่ยวนำแฟชั่นแล้วยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดได้ดีอีกด้วย เพราะใครๆก็อยากได้มีโอกาสใช้สินค้าที่ได้รับการรังสรรค์ขึ้นในอิตาลีกันทั้งนั้น โลกของเฟอร์นิเจอร์และแฟชั่นก็จะกระจุกตัวกันอยู่เมือง มิลาน แต่โลกของการออกแบบรถยนต์นั้นแยกไปอยู่ที่เมืองทางเหนือของอิตาลีที่ไม่ไกลจากมิลานนักที่มีชื่อว่า โตริโน่ หรือเรียกแบบอังกฤษก็ได้ว่า ตูริน (มิลาน, ตูริน และเจนัว เป็นเขตสามเหลี่ยมอุตสาหกรรมของอิตาลี) โดยมีสำนักออกแบบที่ดังก้องฟ้าอยู่มากมายในอดีต บ้างก็ยังคงเกรียงไกร บ้างก็ล้มหายตายจากไป เนื่องจากไม่สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ชื่อหลายๆชื่อสำหรับคนอายุอานามเกิน 30 ปีขึ้นไปนั้นก็ยังคงคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็น พินินฟารีนา, อิตัล ดีไซน์, ซากาโต และ แบร์โตเน่
ในแต่ละเดือนนับจากนี้ไปผู้เขียนจะขอนำเสนอ ผลงานชั้นยอดจากอดีตที่นักออกแบบรุ่นใหม่ควรที่จะทำการศึกษา และเรียนรู้ถึงแนวคิดของอัจฉริยะทางการออกแบบจากอดีต เพราะผู้เขียนเชื่อว่า การที่เราจะก้าวไปข้างหน้าได้มั่นคงเราก็ควรจะได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์เช่นกัน และสำนักออกแบบแรกที่ขอนำเสนอในเดือนนี้ก็คือ สำนักออกแบบ แบร์โตเน่ เจ้าแห่งเส้นสายเรขาคณิตและผู้ให้กำเนิด ซูเปอร์คาร์ ให้กับโลกของคนรักรถยนต์

Before the time of Art Center College from Pasadena and The Royal College of Art in London, the world of car design was based in Italy and the mecca was in Turin, the Automobile Capital of Italy, where all the big names were there ( some has gone and some are still going strong). At that time “designed in Italy” was a powerful term, everyone wanted one whether they are fashion, furniture or car design; the world looked at Italian’s Design Industries and keep followed them. If you are over 30, you might have heard or familiar with the name like, Pininfarina, Ital Design, Zagato and Bertone. Their works and history are worth study in which from this month till August I wish to present the series of Italian Car Design, their works and history. Starting this month is Stile Bertone, the Geometric Master and the founder of Super Car.


สำนักออกแบบแบร์โตเนนั้นถือกำเนิดขึ้นเกือบจะร้อยปีที่แล้วในปี 1912 ในเมืองตูริน โดยผู้ก่อตั้งมีชื่อ จิโอวานนี แบร์โตเน่ (Giovanni Bertone) ในระยะแรกเริ่มนั้นดำเนินธุรกิจต่อตัวถังรถยนต์ตามสั่งหรือที่เรียกว่า คาร์รอซเซเรีย (Carrozzeria) เนื่องจากในอดีตนั้นลูกค้าสามารถสั่งซื้อเพียงเครื่องยนต์, แชสสีร์ และระบบส่งกำลังจากผู้ผลิตรถยนต์แล้วนำมาให้เหล่าช่างฝีมือในการทำตัวถังเหล่านี้สรรสร้างผลงานในฝันได้ ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจสืบเนื่องมาจากยุคที่ยังมีการใช้รถเทียมม้ากันอย่างแพร่หลายนั่นเอง แต่ชื่อเสียงของ สำนักแบร์โตเน่มาโด่งดังเอาแบบจริงๆจังๆก็เห็นจะเป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้การนำของรุ่นที่ 2 ที่เป็นอัจฉริยะด้านการออกแบบที่มีนามว่า นุคชิโอ แบร์โตเน่ (Nuccio Bertone) ซึ่งผลงานที่เป็นที่ทำให้ชื่อเสียงของแบร์โตเน่ เป็นที่จดจำถึงยุคนี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในยุคสมัยของ นุคชิโอ ทั้งสิ้น


The Name “Bertone” has been in business since 1912 as a Coach Builder or Carrozzeria and founded by Giovanni Bertone. But the name has been flourished as famed by the work of genius designer, Nuccio Bertone after the WWII which most of well remembered works have been done during his era under the name Stile Bertone or Bertone Studio.


ลูกค้าหลักของ แบร์โตเน่ นั้น แน่นอนว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ (และจักรยานยนต์)อิตาเลียนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น อัลฟ่า โรมิโอ,เฟีตท, แลมโบร์กินี, มาเซอร์ราตี, แลนเซีย, แลมเบรทต้า (นานๆครั้งก็จะมี เฟอร์รารี่ ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของ พินินฟารีน่า หลุดเข้ามาเป็นลูกค้าด้วย) ส่วนลูกค้าจากต่างประเทศที่ใช้บริการก็มีหลากหลาย อาทิ ซีตรอง อาทิรุ่น DS, BX, ZX, และ Xantia รวมไปถึงบริษัทรถยนต์จากเกาหลีอย่าง แดวู รุ่นเอสเปอโร (ที่โดนตกเป็นผู้ต้องหา คดีคาร์บอมบ์ที่ฉาวโฉ่ในยุคนายกฯทักษิณ) รวมถึงรถยี่ห้อต่างๆบ้าง ประปราย


Their clients are mainly local car producer like Alfa Romeo, Fiat, Lamborghini, Maserati, Lancia and sometimes Ferrari (which is a loyal client of Studio Pininfarina). There international clients are several but most of the time they worked for Citroen for their DS, BX, ZX and Xantia range. They have very few clients from Asia and one of them is Daewoo, the work for Daewoo is the Italian wedge shape saloon called Espero. Whether it is not a strong selling model but Thai people are familiar with its name as it was involved in the notorious car bomb plot in the ex.PM Taksin Shinawatra.


แบร์โตเน่ ในยุคต่างๆ

ในช่วงยุค 50 นั้นประเทศอิตาลีพึ่งจะฟื้นตัวจากสภาพแพ้สงคราม รถยนต์ส่วนใหญ่ที่แบร์โตเน่ได้ออกแบบนั้นก็หนีไม่พ้นรถยนต์ขนาดเล็กอาทิ เฟียต1100 ซึ่งแพร่หลายกันอย่างมากในประเทศไทยเมื่อครั้งอดีต แต่สำนักออกแบบแบร์โตเน่ก็ได้สร้างวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่ดีกว่าไว้ด้วย รถยนต์ที่ล้ำสมัยที่สุดแห่งยุคอย่าง ซีตรอง ดีเอส 19 (Citroen DS19) หรือซีตรองหน้ากบที่คนไทยรู้จักกันดี และยังสร้างผลงานที่แสดงออกถึงความวิสัยทัศน์ที่ล้ำสมัยเรื่องอากาศพลศาสตร์ ด้วยรถยนต์แนวคิด อัลฟ่า โรมิโอ แบท ( Alfa Romeo B.A.T) ซึ่งสร้างขึ้นมารวม 3 รุ่นคือ รุ่น B.A.T 5, 7, และ 9


Bertone in time.

During the 50’s Italy just revived from the WWII and most of the car Bertone designed for that era were mostly small and economic car such as Fiat 1100 which was very popular in Thailand and still able to see a few of them being driven in suburb area nowadays. Regarding the economic difficulties, Stile Bertone still able to showed their vision of future with several concept car like Alfa Romeo B.A.T series which is the aerodynamic exotica of that time and also presented one of the most avant-garde production car of all time, the Citroen DS 19.


ในยุค 60 นั้น เส้นสายของของรถยนต์ที่ออกมาจาก สำนักแบร์โตเน่ นั้นก็ยังคงเป็นไปตามสมัยนิยมในยุคนั้นก็คือ เน้นความโค้ง และคอดเว้าแบบสรีระของอิสตรี รถยนต์ที่โดดเด่นของ สำนักแบร์โตเน่จากยุคนั้น ก็คือ เฟอร์รารี่ 250 จีที ลุสโซ (Ferrari 250 GT Lusso), อัลฟ่า โรมิโอ จีทีเอ (Alfa Romeo GTA), อัลฟ่า โรมิโอ มอนทริออล (Alfa Romeo Montreal) และในปลายยุค 60 นี้เอง สำนักออกแบบ แบร์โตเน่ ก็ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า ซูเปอร์คาร์ ขึ้นบนโลกใบนี้ และยังทำคลอดซูเปอร์คาร์แสนอมตะตามๆกันออกมาอีกเป็นขบวนๆ ซูเปอร์คาร์ คันนั้นก็คือ แลมโบร์กีนี่ มิวร่า (Lamborghini Miura) แห่งยุค 60 สิ่งที่ทำให้รถยนต์คันหนึ่งๆได้ยกฐานะขึ้นเป็น ซูเปอร์คาร์ได้นั้น นอกจากจะต้องมีความเร็วสูงแล้วจะต้องมีรูปร่างเหนือจริง (Surreal) อีกด้วย และ มิวร่านี้ก็ได้แสดงให้สาธารณชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คู่ต่อสู้ตลอดกาลของแลมโบร์กีนี่ อย่าง เฟอร์รารี่ เห็นว่า ซูเปอร์คาร์นั้นคืออะไร ซึ่งในเวลานั้นรถยนต์ที่ดีที่สุดของ เฟอร์รารี่ก็ยังไม่มีคันไหนที่มีรูปร่างสูสีกับรูปทรงที่เตี้ย แบน กว้าง และ เซ็กซี่สุดๆของมิวร่าได้เลย กว่าที่เฟอร์รารี่จะตามทันก็อีกนาน แม้ในปัจจุบันใครก็ตามที่ได้เห็นมิวร่าแบบตัวเป็นๆจะปฏิเสธไม่ได้เลยถึงความน่าตื่นเต้นแม้เพียงแค่ตาสัมผัส ลองจินตนาการกลับไปว่า เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วการปรากฏตัวของ มิวร่า นั้นก็สร้างความน่าตื่นตาเพียงใด


During the 60’s, the work and style of Stile Bertone followed the flavor of that time with curvy body and contour inspired by female body, their famous examples are Ferrari 250GT Lusso, Alfa Romeo GTA, Alfa Romeo Montreal but the most remembered one is the first “Supercar” the world has known, the mighty Lamborghini Miura! Unlike any typical super fast car examples of that time, Miura presented with “Super Surreal” shape and form, lower, wider and sexier which later defined the definition of Supercar till now. Their presence put the world ( and Ferrari)to shock! Even seeing one today it would raise your pulse, so try imagining its presence 40 years ago how it shook the world!


ยุค 70 คือยุคทองของการออกแบบรถซุปเปอร์คาร์ของ แบร์โตเน่ และเส้นสายที่ทำให้ แบร์โตเน่ เป็นเอกลักษณ์ ก็คือรูปทรงที่เน้นเส้นสายที่เฉียบขาดแนวเรขาคณิต ซึ่งคงเป็นเอกลักษณ์ของ แบร์โตเน่ มาตราบจนถึงยุค 2000 เลยทีเดียว รถยนต์ต้นแบบที่เป็นตัวแทนของยุคนี้ล้วนเป็นผลงานรังสรรค์ของหัวหน้าทีมนักออกแบบของแบร์โตเน่ นามว่า มาร์เชลโล่ แกนดินี (Marcello Gandini) ผู้ซึ่งมีอิทธิพลกับรูปทรงของซุปเปอร์คาร์จากอิตาลีต่อไปกว่า 3 ทศวรรษ ผลงานของเขาก็คือ แลนเซีย สตราโตร ซีโร่ ( Lancia Stratos Zero) รถต้นแบบล้ำจินตนาการ ที่มีรูปทรงลิ่มแบบถึงที่สุด ที่การเข้าห้องโดยสารทำได้โดยการเดินเหยี่ยบจมูกรถและเปิดกระจกบังลมหน้าเข้าไป การออกแบบของมันทุกวันนี้ยังดูล้ำยุคเป็นอมตะและได้รับเลือกให้เป็นรถของไมเคิล แจ็คสัน ในภาพยนตร์สุดพิศดารเรื่อง มูนวอร์กเกอร์ (ในเพลง สมูท คริมินัล)อีกด้วย, อัลฟ่า โรมิโอ คาราโบ (Alfa Romeo Carabo) ชื่อคาราโบนั้นแปลว่า แมงเต่าทอง ซึ่งชื่อนี้ได้มาจาก ประตูแบบกรรไกร อันโดดเด่น, ส่วนรถต้นแบบที่โดดเด่นคันอื่นๆก็ได้แก่ แลมโบร์กีนี่ บราโว( Lamborghini Bravo) และ อัลฟ่าโรมิโอ นาวาโฮ (Alfa Romeo Navajo)เป็นต้น
ในส่วนของรถยนต์ที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายจริงในยุคนี้เห็นจะไม่มีรถคันใดในโลกเด่นเกิน รถยนต์ ลัมโบร์กีนี่ คูนทาซ (Lamborghini Countach) อันเป็นผลงานเด่นของ แกนดินี่ไปได้ องค์ประกอบประตูแบบกรรไกรของ รถรุ่น คาราโบ และเส้นสายที่เป็นเหลี่ยมสันคมดุดันฝีมืออันเป็นเอกลักษณ์ของแกนดินี่ ทั้งสององค์ประกอบนี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ลัมโบร์กีนี่ไปตลอดกาล


The 70’s, the Golden Age of Supercar. The era led by Marcello Gandini, the head designer of Stile Bertone, he introduced the geometric wedge shape which became Bertone’s signature for another 3 decades. His most significant concept car are Lancia Stratos Zero, the car was ultra low with surreally wedge-shaped, and unusually short and wide, the access is via stepping over the nose of the car in order to get into the car via opened windscreeen. The car later appeared in Michael Jackson's 1988 film, Moonwalker as well as in his music video for Smooth Criminal.Others interesting concept are Alfa Romeo Carabo ( carabo means beetle), it presented the radical scissor type doors which later became an essential parts of Lamborghini car till now, Lamborghini Bravo and Alfa Romeo Navajo.


ยุค 80 และ 90 สำนักออกแบบแบร์โตเน่ ยังคงทำงานออกแบบต่อมาด้วยอิทธิพลการออกแบบแนวเรขาคณิตของ แกนดินี่ อย่างต่อเนื่อง รถเด่นของยุคนี้เห็นจะไม่พ้น สุดยอดของซุปเปอร์คาร์อย่าง ลัมโบร์กีนี่ ดิอาบโล (Lamborghini Diablo) และ ซิเซต้า มอโรเดอร์ วี 16 ที ( Cizeta-Moroder V16T) ส่วนรถทั่วๆไป นั้นเส้นสายและสัดส่วนแบบเรขาคณิตของ แบร์โตเน่ แม้ว่าจะดูกระชับลงตัว แต่ก็ไม่เรียกว่าอยู่ในกระแสนิยมอีกแล้ว รวมไปถึงการถดถอยของอุตสาหกรรมรถยนต์อิตาเลียนและ การเกิดขึ้นของนักออกแบบสายเลือดใหม่จากสถาบันการออกแบบจากทั้งอังกฤษ และอเมริกา ที่รุกคืบเข้ามาแย่งชิงตลาดของการออกแบบรถยนต์ไปจากตูริน ทำให้รสชาติแบบอิตาเลียนดูจะเลือนหายออกไปจากเวทีการออกแบบเข้าทุกขณะ


The 80s and 90s, Stile Bertone still had much of the influences from Gandini’s era. The Stunning wedge form and well proportion geometric form still worked well with Super but started to lost its magic effect over mainstream car together with the collapse of Italian automotive industry led to Bertone financial crisis in the next decade. The Last series of Supercars from Stile Bertone were Lamborghini Diablo and Cizeta-Moroder V16 T, both were designed by Gandini himself.


แบร์โตเน่ ในยุค2000 นี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของสำนัก ภายหลังจากการเสียชีวิตของ นุคชิโอ แบร์โตเน่ และการจากไปของ แกนดินี่ รถยนต์ที่ได้รับการผลิตจริงจากสำนักมีเพียง อัลฟ่าโรมิโอ จีที (Alfa Romeo GT) ในปี 2003 เพียงรุ่นเดียว และต่อมาสำนักออกแบบได้เข้าสู่ภาวะล้มละลายในปี2007 และประทังชีวิตบริษัทด้วยเงินอุดหนุนจากรัฐบาลรวมถึงผ่านการต่อรองซื้อขายบริษัทอีกหลายต่อหลายครั้ง และกลับขึ้นมายืนได้อีกในปี 2009 ด้วยการอุ้มชูจากคู้ค้าเก่าแก่อย่างบริษัท เฟียท ปัจจุบันได้กลับมาสร้างสรรค์ผลงานอีกครั้งหนึ่ง โดยผลงานล่าสุด 3 คันก็คือ รถต้นแบบ อัลฟ่า โรมิโอ แบท 11 (Alfa Romeo B.A.T 11)ที่สร้างขึ้นมาเป็นสมาชิกกับรถในตระกูล B.A.T จากยุค 50, แบร์โตเน่ แมนไทด์ (Mantide) และ แบร์โตเน่ แพนดิออน (Pandion) ซึ่งสองคันแรกนั้นยังคงออกแบบด้วยจิตวิญญานและเอกลักษณ์การออกแบบในสไตล์ แบร์โตเน่เท้ๆอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยการใช้มิติทรงเรขาคณิตและสัดส่วนที่อิ่มแน่นลงตัว แต่กับแพนดิออนนั้นต่างออกไปและนำแบร์โตเน่เข้าสู่ยุค ดิจิตัลดีไซน์อย่างเต็มรูปแบบ ดังที่ได้นำเสนอไปแล้วในเล่มที่ผ่านมา


Bertone in the 2000s, this is the toughest time the company ever faced with the lost of their spiritual leader, Nuccio Bertone and also Marcello Gandini has left company. The only significant production model ever created by Stile Bertone was Alfa Romeo GT in 2003. Bertone applied for “Concordato Preventivo” in November 2007, Italy’s equivalent of United States Chapter 11 bankruptcy protection due to several years of financial losses and followed by several changing handed but in 2009 the Stile Bertone together with Carrozeria Bertone became a member of Fiat Group, their long time business partner. Now the Stile Bertone is backing on track with 3 latest creations, the B.A.T 11, a newly joined member to the “advance aerodynamic experiment concept” created by Stile Bertone in the 50’s, the Bertone Mantide and the latest one Bertone Pandion. The first two cars are featured with Bertone original flavor, the well proportion geometric shape but the Pandion is different and presented with the new design paradigm and vision which promises to re establish the Stile Bertone as one of most inspiring design studio in the digital age.


อนาคตของดีไซน์จากอิตาลีอย่าง แบร์โตเน่ จะเป็นเช่นไร จะตอบรับกับแนวคิดใหม่ๆทัศนคติใหม่ๆของโลกได้ทันเวลาหรือไม่ เพราะอิตาลีนั้นแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วแต่ในหลายๆเรื่องก็ยังคงปิดตัวและอนุรักษ์นิยมอยู่มาก คงจะต้องเอาใจช่วยให้บริษัทสามารถอยู่จนฉลองครบรอบ 100ปีให้ได้และกลับมาผงาดได้อีกครั้งในฐานะ เจ้าแห่งซุปเปอร์คาร์ ผู้เขียนขอเอาใจช่วยครับ


The future of thoroughbred Italian Design studio like Stile Bertone is still uncertain whether it will be able to cope with a new attitude and demanding consumer of the 2010’s era. Italian whether being a developed country but in many dimension it is still a very conservative country, they need to adapt themselves to a new quicker pace before losing a race. I wish to see them able to celebrate their 100 years anniversary as well as backing on track as the Master of Supercar once again!

ไม่มีความคิดเห็น: